ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

สร้างบล็อกกับ blogger
มาสร้างบล็อกกับ Blogger.com กันดีกว่า


บล็อก ในปัจจุบันถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะว่า ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (ส่วนใหญ่) ใช้งานง่าย โดยผู้เขียนไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมภาษา หรือโปรแกรมสำเร็จรูปใดๆ เลย ก็ว่าได้ สามารถปรับแต่ง แก้ไขได้ง่าย


ประโยชน์ของ Blog นั้นมีมากมาย จะขอแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้


เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้

เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น

เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น

ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ

และอื่นๆ อีกมากมาย

ผมเริ่มศึกษาการเขียนบทความจากหลายๆ เว็บไซต์ จนรู้สึกชอบ Blogger.com แต่ก็หาคำอธิบายภาษาไทยไม่เจอเท่าไร ผมได้ศึกษาเองบ้าง หาข้อมูลจากเว็บไซต์บ้างจนพอทำได้ แต่ก็ยังไม่เก่ง ด้วยความรู้เท่าทีผมพอมีจึงขอเขียนบทความง่ายๆ เพื่อที่จะอธิบายและให้สร้างบล็อกด้วย Blogger ได้ครับ


เรามาเริ่มสร้างบล็อกกันเลยดีกว่า



ขั้นตอนการสมัครสมาชิก Email ของ Gmail
ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิก Blogger.com
ตอนที่ 1 แผงควบคุม (เพิ่มและจัดเรียงองค์ประกอบของหน้า)
ตอนที่ 2 แผงควบคุม (เพิ่ม Gadget ส่วนหัวของหน้า)
ตอนที่ 3 : แผงควบคุม เมนู "โลโก้" "แถบวีดีโอ"
ตอนที่ 4 : แผงควบคุม เมนู "ป้ายกำกับ" "ฟีด" และ "HTML/จาวาสคริป"
ตอนที่ 5 : แผงควบคุม เมนู "ข้อความ" "Adsense" และ "รูปภาพ"
ตอนที่ 6 : แผงควบคุม เมนู "รายชื่อลิงก์" "รายการ" และ "แบบสำรวจ"
ตอนที่ 7 : แผงควบคุม เมนู "ลิงก์การสมัคร" "สไลด์โชว์" "ผู้ติดตาม" และ "รายการบล็อก"
ตอนที่ 8 : การจัดการข้อมูล "ขั้นต้น"
ตอนที่ 9 : การจัดการข้อมูล "การเผยแพร่" และ "สิทธิ์"
ตอนที่ 10 : การจัดการข้อมูล "การจัดรูปแบบ" และ "ข้อคิดเห็น"
ตอนที่ 11 : การจัดการข้อมูล "เก็บเข้าคลังบทความ" "ฟีดของไซต์" "อีเมล" และ "OpenID"
ตอนที่ 12 : ส่วน "รูปแบบ" "องค์ประกอบหน้า" "ชื่อเว็บบล็อก"
ตอนที่ 13 : ส่วน "รูปแบบ" "เลือกแม่แบบใหม่"
ตอนที่ 14 : ส่วนการจัดการ "การเขียนบทความ"

ขั้นตอนการสมัคร Gmail

ขั้นตอนการสมัคร Gmail

         ก่อนอื่นเลย การที่เราจะสร้างบล็อก  เราควรที่จะมี อีเมล ของ gmail ก่อนนะครับ ใครยังไม่มีมาดูวิธีสมัครกันก่อนเลย
เข้าเว็บไซด์ http://www.gmail.com/ 

          เมื่อกดแล้วจะเห็นเว็บเพจหน้าตาแบบนี้ แสดงว่ามาถูกแล้วครับ ให้มองที่ฝั่งขวามือกรอบที่เขียนว่า"สร้างบัญชี"

แต่ถ้าใครมี อีเมล ของ gmail แล้ว ก็เข้าได้เลย แต่ถ้าใครยังไม่มีต้องสมัครก่อนนะครับ ที่เมนู "สมัครเข้าใช้งาน Gmail" ให้กดได้เลยครับ เมื่อกดแล้วเพื่อนๆ จะเข้าสู่หน้าการกรอกรายละเอียดเหมือน เว็บไซต์อื่นๆ ทั่วไป ทำตามขั้นตอนที่แนะนำจนถึง หน้าที่แสดงความยินดีบัญชี Gmail ของคุณใช้งานได้แล้ว
(ไม่ต้องออกจากระบบนะครับ)
แล้วเข้าไปที่ http://www.google.co.th/ จะได้หน้ากูเกิลที่มีชื่อเราอยู่ด้านบนขวา


แค่นี้ก็เสร็จแล้วสำหรับการสร้างอีเมลใหม่ ของ gmail ครับ




ขั้นตอนการสมัคร Blogger

ขั้นตอนการสมัคร Blogger สร้างบล็อกฟรี

          เมื่อเราสมัคร Email ของ Gmail เรียบร้อยแล้วขั้นต่อไปคือการสมัครเป็นสมาชิกของ http://www.blogger.com/ เพื่อสร้างบล็อกของท่านเอง


          จะเห็นว่า Blogger จะเชื่อมโยงอยู่กับ Gmail เมื่อเข้ามาแล้วจะเห็นคำว่า เริ่มต้นอยู่ด้านซ้าย ให้คลิกที่นั่นเลยครับ


          กรอกข้อมูลเหมือนกับ การสมัคร Gmail ครับ  แต่ที่ช่องแรก  ให้กรอก Email ที่สมั้ครไว้กับ Gmail ครับ เมื่อกรอกข้อมูลแล้ว ให้ติก ที่ช่อง "ฉันยอมรับข้อกำหนดในการใช้บริการ" ด้วยนะครับ

ขั้นต่อไปคือการตั้งชื่อบล็อก  และที่อยู่ของบล็อก
          การตั้งชื่อบล็อกนั้นจะใช้ภาษาไทย  หรือภาษาอังกฤษ ก็ได้ตามต้องการ ที่ไม่ยาวมากนัก
แต่การตั้งที่อยู่ของบล็อกนั้น จะต้องใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น และไม่ใช้สัญลักษณ์พิเศษต่างๆ
เมื่อตั้งที่อยู่เสร็จแล้ว ให้ลองคลิกที่คำว่า "ตรวจสอบความพร้อมการใช้งาน"   ถ้าใช้ได้ ให้คลิกที่ดำเนินการต่อไป แต่ถ้าที่อยู่ซ้ำ หรือใช้ไม่ได้ให้แก้ไขที่อยู่ ให้เรียบร้อย

ขั้นต่อไป คือการเลือกแม่แบบ หรือสร้างเทมเพลตเริ่มต้น
          วิธีการสร้างเทมเพลต นั้นก็ง่าย เพราะทาง Blogger ได้มีแบบให้เราเสร็จแล้วครับ เพียงแค่เราคลิกแบบที่เราต้องการ  แล้วก็คลิกที่ดำเนินการต่อ

 

          เมื่อถึงขั้นตอนนี้ เราก็สารถพิมพ์ข้อความ ที่จะใส่ในบล็อกของเราได้แล้วครับ  
แล้วเมื่อใส่ข้อความเรียบร้อยแล้ว เราก็เผยแพร่บล็อกของเราให้ผู้อื่นได้เข้ามาดูกัน โดยคลิกที่ "เผยแพร่บทความ" ที่อยู่ด้านล่างซ้าย  เท่านี้เราก็ได้บล็อกที่เป็นของเราเองแล้ว ง่ายแสนง่าย

เรื่องที่ 1 แผงควบคุม (เพิ่มและจัดเรียงองค์ประกอบของหน้า)

ตอนที่ 1
แผงควบคุม

         ในบทความนี้ เป็นการแนะนำในส่วนของ การ "เพิ่มองค์ประกอบหน้า" ซึ่งในเบื้องต้นเพื่อนๆ ต้องเข้าไปสู่หน้าแรก ของบัญชี blogger ของตัวเอง 

 

         จะเห็นหน้า "แผงควบคุม" ซึ่งในหน้านี้ ถือว่าเป็นหน้าที่จะแสดงว่า การใช้งาน 1 บัญชี (account)มีจำนวนกี่บล็อก ของผมมี 12 บล็อกแต่แสดงเพียง 3 บล็อก สำหรับเพื่อนๆ ที่พึ่งเริ่มทำ 1 บล็อก ก็จะสั้นเห็นแค่แผงควบคุมเดียวนะครับ อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ถ้าใครใช้งานฟังก์ชั้นของเว็บในเครือ Google จะทราบดีว่า Google จะมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าเกิดเพื่อนๆ ใช้งาน Blogger ตามคำแนะนำของผมแล้ว เห็นว่าหน้าตา ภาพรวมของภาพไม่ตรงกับที่เห็นของจริง ก็ไม่ต้องตกใจอะไรนะครับ ให้ดูที่หัวข้อ หรือ ความหมายหลักๆ ซึ่งจะคงอยู่เหมือนเดิมครับ




ดูกันชัดๆ กับ รายละเอียดในแผงควบคุมนะครับ ดังนี้

  • เมนู "สร้างบล็อก" ถ้ากด จะไปหน้าการสร้างบล็อกใหม่ เหมือนในหัวข้อ "ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิก Blogger" ครับ
  • เมนู "ดูบล็อก" ถ้ากด จะไปสู่หน้าแรกของบล็อกนั้นๆ ครับ
  • เมนู "บทความใหม่" ถ้ากด จะไปสู่หน้าการเขียนบทความในบล็อกนั้น
  • เมนู "แก้ไขบทความ" ถ้ากด ก็จะไปสู่หน้าการจัดการบทความทั้งหมดครับ
  • เมนู "ข้อคิดเห็น"  ถ้ากด ก็จะเป็นดูข้อคิดเห็นต่างๆ ที่คนที่สนใจโพสในบล็อกเรา
  • เมนู "การตั้งค่า" ถ้ากด ก็จะไปสู่การตั้งค่าภายในบล็อกต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดในการตั้งฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ ให้เหมาะสมกับบล็อกนั้นๆ ซึ่งเป็นส่วนที่มีรายละเอียดมากพอสมควรครับ
  • เมนู "การออกแบบ" ถ้ากด จะเข้าสู่หน้า "เพิ่มและจัดเรียงองค์ประกอบหน้า" ที่มีบทบาทสำคัญมากในการจัดแต่งบล็อกครับ รายละเอียดก็มีมากพอสมควรเช่นกันครับ
  • เมนู "สร้างรายได้" ถ้ากด จะเป็นการเพิ่มโฆษณาจาก Google และการจัดวางพื้นที่วางโฆษณาต่างๆ
  • เมนู "สถิติ" ถ้ากด จะแสดงถึงข้อมูลสถิติจำนวนของคนที่เข้ามาดูบล็อกของเรา
         ดังนั้นในหัวข้อบทความนี้คือ การใช้งาน "แผงควบคุม" ซึ่งเป็นหัวข้อเมนูสุดท้ายกันนะครับ ส่วนเมนูอื่นๆ ผมจะทยอยมานำเสนอเพื่อนๆ ต่อไปครับ



         ที่หน้า "เพิ่มและจัดเรียงองค์ประกอบของหน้า" นั้นมีเมนูสำคัญเยอะเลยครับ ผมจะลองไล่เรียงไปนะครับ Blogger เป็นเว็บที่ให้บริการสมาชิกให้เขียนบล็อกได้ค่อนข้างดี เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม เช่น ตัวผมเองเป็นต้น ชาตินี้คงทำเว็บไซต์ไม่ได้แน่ๆ แต่เขียนบล็อก ได้ชัวร์ และการออกแบบ ผมฝจะชอบตรงหน้าการจัดการต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึงกันได้ดีทีเดียว งั้นลองมาดูเมนูต่างๆ ตามลำดับนะครับ
  • แถวบนสุด ด้านขวา ของพื้นที่สีน้ำเงิน มี 6 เมนู คือ "ทดลองใช้ส่วนติดต่อใหม่ของบล็อกเกอร์" "Email ของคุณ" "แผงควบคุม" "บัญชีของฉัน" "ช่วยเหลือ" "ออกจากระบบ" ซึ่งความหมายของเมนู ก็ตรงๆ ครับ เมื่อกดเมนูแผงควบคุม ก็จะย้อนไปที่หน้าเดิมก่อนหน้านี้ กดเมนูบัญชีของฉัน ก็จะกลับไปที่หน้าดังภาพบนสุดของบทความนี้ ส่วนเมนูช่วยเหลือนั้น ก็จะเป็นหน้าคำแนะนำของ Blogger ครับ สุดท้ายคือเมนูออกจากระบบ ก็ชัดเจนครับ ตรงๆ ความหมายเลยครับ
  • ด้านซ้าย แถวบนสุด ยังอยู่ในพื้นที่สีน้ำเงิน มี 7 เมนูเช่นกัน คือ "การส่งบทความ" "ข้อคิดเห็น" "การตั้งค่า" "การออกแบบ" "สร้างรายได้" "สถิติ" "ดูบล็อก" ซึ่งหน้านี้ ถือว่าเป็นหน้า "การออกแบบ" ครับ ส่วนเมนูการส่งบทความ และการตั้งค่านั้น ผมจะอธิบายต่อไป เพราะอย่างที่บอกไว้ คือมีรายละเอียดพอสมควรครับ สุดท้าย เมนูดูบล็อกนั้น เมื่อกดจะเป็นหน้าแรกของเว็บบล็อกนั้นๆ ครับ
  • แถวต่อมาจะเห็นเมนู คือ "องค์ประกอบหน้า" ซึ่งก็คือหน้านี้ละครับ ส่วนเมนู "แก้ไข HTML" "แก้ไขหน้าเว็บ" ผมจะมาขยายความอีกทีนะครับ
    ด้านขวา เหนือกรอบสีน้ำตาลอ่อน มีเมนูสีฟ้า 2 เมนู คือ "แสดงตัวอย่าง" "ล้างข้อมูลการแก้ไข" ซึ่งก็น่าจะตรงตามชื่อนะครับ แต่ส่วนตัวแล้ว ผมไม่เคยกดใช้งานเลยครับ แต่ผมกลับใช้งานเมนูสีส้มบ่อยที่สุด เมนู " บันทึก" คือกดแล้วแสดงมฝันจะอัพเดทใน สิ่งที่ผมได้มีการเปลี่ยน หรือเพิ่มเติม การตกแต่งบล็อกครับ
  • แถบสีฟ้าครับ เรียก "แถบนำทาง" หรือ "Nโavbar" ก็คือแถบบนสุดของบล็อกของเรานั่นแหละครับ กดที่คำว่า "แก้ไข" ก็จะมีให้เราเปลี่ยนทั้งหมด 6 สี ถ้าใคร อยากลองเปลี่ยน ก็กดที่ปุ่มเลือกแถบ และกดคำว่า "บันทึก" ที่เป็นเมนูสีส้มครับ ก็จะเปลียนเป็นแถบสีตามที่เลือกไว้


  • ใต้แถบนำทาง ก็จะเห็นแถบสีน้ำตาล ที่เป็นชื่อบล็อกของเรา ถ้ากดเมนู "แก้ไข" ก็จะแสดงกรอบเล็กประมาณครึ่งหน้าจอคอมฯ เขียนว่า "กำหนดส่วนหัว" และจะพบว่าสามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้ ชื่อบล็อก, คำอธิบายบล็อก, รูปภาพ ซึ่งเลือกจากคอมฯ หรือจากเว็บก็ได้
  • ส่วนพื้นที่ "บทความบล็อก" ข้างในก็มีรายละเอียดอยู่ เดี๋ยวผมจะนำมาขยายความอีกทีนะครับ

เรื่องที่ 2 แผงควบคุม (เพิ่ม Gadget ส่วนหัวของหน้า)

เรื่องที่ 2
Gadget

         มารู้จักแต่ละส่วนขององค์ประกอบหน้ากันนะครับ โดยผมจะนำเสนอแต่ละองค์ประกอบหน้า ตามความเหมาะสมนะครับ โดยไล่จากข้างล่างขึ้นมานะครับ เพราะผมคิดว่า จะอธิบายสะดวกกว่า (เป็นการส่วนตัว)


         ครับ หลังจากที่ เพื่อนๆกดที่เมนู "เพิ่มองค์ประกอบหน้า" หรือ "เพิ่ม Gadget" ก็จะเห็นหน้าต่างๆ ประมาณครึ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ขึ้นมานะครับ จากนั้นให้เลื่อนเม้าท์ไปล่างสุด จะได้อย่างที่เห็นในภาพข้างล่างนะครับ
         จะเห็นส่วนองค์ประกอบหน้า ล่างสุด ซึ่งบทความตอนนี้ ผมจะขออธิบายการใช้งาน 3 องค์ประกอบหน้า คือ "ส่วนหัวของหน้า" "คลังบทความของบล็อก" และ "โปรไฟล์"


         องค์ประกอบ "ส่วนหัวของหน้า" ก็คือส่วนหัวของหน้าบล็อก ที่เพื่อนๆ เห็นด้านบนสุดของบล็อกนี้คับ "Blogger Build สร้างบล็อ เขียนบล็อก ด้วย Blogger" ซึ่งในส่วนนี้ ผมจะอธิบายในตอนแก้ไข "ส่วนหัวของหน้า" ในการใช้งานอีกวิธีหนึ่ง แต่โดยรวมๆ ระบบของการสร้างบล็อกให้เรา ก็จะมีเพิ่มเติมอยู่แล้ว จะเห็นได้จากด้านขวา เห็นคำว่า "เพิ่มแล้ว"

         องค์ประกอบ "คลังบทความของบล็อก" คือส่วนของการบันทึกจำนวนบทความในแต่ละวัน หรือ สัปดาห์ หรือ เดือน ตามแต่ที่เราจะกำหนด และโดยปกติเมื่อเราสร้างบล็อกเสร็จ ก็จะมีไว้ให้เลย เช่นกันจะเห็นว่ามี "เพิ่มแล้ว" ทางด้านขวามือ ส่วนรายละเอียดเดี๋ยวจะอธิบายอีกครั้ง


         องค์ประกอบ "โปรไฟล์" ก็คือส่วนที่แสดงข้อมูลของเจ้าของบล็อก จะเห็นว่ามีสัญลักษณ์ + สีฟ้า ทางด้านขวามือ แสดงว่ายังไม่มีการใช้งานในบล็อกนั้น แต่โดยปกติ ระบบจะเพิ่มให้อัตโนมัติ ส่วนรายละเอียดเดี๋ยวจะอธิบายอีกครั้ง

เรื่องที่ 3 แผงควบคุม (เมนู "โลโก้"และ"แถบวีดีโอ")

เรื่องที่ 3
เมนู "โลโก้"

มาตามอ่านกันต่อถึงการเพิ่มองค์ประกอบหน้าในส่วน "โลโก้" "แถบวีดีโอ"


         องค์ประกอบ "โลโก้" (Logo) นั้นส่วนตัวผมแล้ว ผมจะให้ความสำคัญมากๆ เพราะว่า เรามาใช้บล็อกฟรีของ Google ควรจะให้เกียรติทาง Blogger ด้วยการติดโลโก้ของ Blogger ด้วยทุกครั้ง เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ รวมทั้งทำให้ผู้สนใจศึกษา หรือจะสร้างบล็อก สามารถกดที่โลโก้ เพื่อเข้าสู้หน้าการแนะนำการสร้างบล็อกของ Blogger ได้อย่างง่ายๆ 


         เมื่อกดที่แบนเนอร์แล้ว จะเห็นหน้าที่ให้เราเลือกโลโก้ ซึ่งมีอยู่ 6 แบบ แตกต่างกันนิดหน่อย ก็เลือกให้เหมาะสมกับแบบของบล็อกที่เราสร้างไว้ จากนั้นก็กด "บันทึก" ที่มีสีส้มเหมือนเดิมครับ
เวลาที่แบนเนอร์โลโก้ อยู่บนบล็อกของบล็อกนี้ ก็อย่างที่ผมตัดรูปภาวพมาฬห้เพื่อนๆ ดูนี่แหละครับ หรือจะดูที่ด้านขวามือของเพื่อนๆ ก็ได้ครับ ส่วนตำแหน่งการไว้ ก็เลือกให้เหมาะสมสวยงามครับ


เมนู  แถบวีดีโอ


       ส่วนองค์ประกอบ "แถบวีดีโอ" นั้นผมไม่เคยติดตั้งใรนบล็อกเลยครับ เพราะว่า ด้านข้าง หรือ Side Bar นั้น ผมมักจะขยายให้กว้างขึ้น ตามการออกแบบหลักๆ ของผม แต่แถบวีดีโอที่ทาง Blogger นั้น จะกว้างไม่มาก ถ้านำมาใช้งานจะไม่สวยครับ ดูไม่เข้ากัน แต่ถ้าเพื่อนๆ จะใช้งานก็ใช้ได้ง่ายๆ ครับ แค่คลิ๊กแบนเนอร์ แล้วก็เลือกกลุ่มวีดีโอ ช่องทาง และคำสำคัญ ที่ระบบจะดึงวีดีโอที่เกี่ยวข้องมา แล้วก็บันทึก เท่านั้นเองครับ ลองทำเล่นดูได้นะครับ

เรื่องที่ 4 แผงควบคุม เมนู "ป้ายกำกับ" "ฟีด" และ "HTML/จาวาสคริป"

เรื่องที่ 4 
เมนู "ป้ายกำกับ"


         องค์ประกอบ "ป้ายกำกับ" หรือ Tag ซึ่งจริงๆ แล้วถือว่ามฝีส่วนสำคัญในการตกแต่งบล็อกพอสมควร  ในเว็บไซต์อื่นที่ให้บริการ เช่น WordPress จะใช้รูปแบบเรียงตามตัวอักษร

         แต่สำหรับใคร ถ้าต้องการใช้ ก็ดีเพราะว่าถ้ามี ก็มีข้อดีเช่นกันครับ เมื่อใครๆ กดเมนู จะฝานที่หน้าจอดังภาพ มีให้เลือกว่า จะเรียงแถวยาวลงมา เรียงตาม "ตัวอักษร" หรือ "ความถี่" คือ จำนวนที่มากลงไปหาน้อย 


เมนู  ฟีด 



         องค์ประกอบ "ฟีด" หรือ Feed หมายถึงถ้าเราสนใจบทความของบล็อกไหน ก็เอามาติดครับ

 


เมนู  HTML/จาวาสคริป



         องค์ประกอบ "HTML/จาวาสคริป" นี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการนำมาตกแต่งบล็อกมากๆ เลยส่วนใหญ่จะนำโค้ด HTML มาวาง




         เมื่อกดเมนู จะเห็นหน้าตาแบบนี้ครับ ช่องบนก็ให้ใส่หัวข้อของโค้ด ก็แล้วแต่ตามสะดวก ให้ดูเรื่องความเหมาะสม ความสวยงาม หรืออาจดูเรื่องที่เราอยากจะสื่อสารกับผู้อ่าน ส่วนพื้นที่ใหญ่ๆ ข้างล่าง เอาไว้ใส่ HTML โค้ด

เรื่องที่ 6 แผงควบคุม เมนู "รายชื่อลิงก์" "รายการ" และ "แบบสำรวจ"

ตอนที่ 6

เมนู "รายชื่อลิงก์"



         องค์ประกอบ "รายชื่อลิงก์" สามารถแสดง URL ของเว็บไซต์ หรือเว็บบล็อก ที่เราจะนำมาแสดง ซึ่งเราอาจจะตั้หัวข้อได้หลากหลาย เช่น เว็บไซต์ที่ใช้งานบ่อย เว็บไซต์ที่ชื่นชอบ เว็บไซต์ของเพื่อน หรือ "เว็บบล็อกที่ผมเขียน" ตามที่ผมจะยกตัวอย่างในบทความนี้นะครับ งั้นเพื่อนๆ มาลองใช้งานกันนะครับ 
         เมื่อกดแบนเนอร์ จะแสดงหน้าต่าง "ตั้งค่ารายชื่อลิงก์" ทีผมขออธิบายส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ 
  1. "หัวข้อ" เพราะถ้าเพื่อนๆ ตามอ่านมาตั้งแต่ต้น ก็ใส่หัวข้ออะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับลิงก์ที่จะนำมาวาง
  2. ส่วน "จำนวนลิงก์ที่จะแสดงในรายการ" ให้เราใส่จำนวนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นเว็บบล็อกของเพื่อนมีมาก อาจใส่ไว้ 100 รายการ คือใส่มากก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าใส่น้อย เช่นใส่ 20 รายการ แต่เราเพิ่มลิงก์ไป 40 รายการ ก็จะแสดงเพียง 20 รายการเท่านั้นครับ
  3. ส่วน "การเรียง" ผมไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย โดยปกติจะเป็น ไม่ต้องจัดเรียง เพราะว่าเมื่อเราเพิ่มรายการเรียบร้อย สามารถจัดลำดับได้เองอยู่แล้ว ง่ายๆ ไม่ยากครับ ทาง Blogger ออกแบบไว้ค่อนข้างดีครับ
  4. ส่วน "URL ของไซต์ใหม่" นั้นมีไว้สำหรับใส่ URL ที่เราต้องการแสดง
         ในส่วนที่ 4 นี้ เป็นส่วนสคัญ ในการเพิ่มลิงก์ครับ จะเห็นว่ามี "http://" รอไว้อยู่แล้ว ถ้าก็อบปี้ URL มาอย่าลืมลบของเดิมออกก่อนนะครับ เดี๋ยวจะซ้ำซ้อน ที่สำคัญใช้งานไม่ได้ครับ



เมนู "รายการ"

         องค์ประกอบ "รายการ" ที่สามารถแสดง "ข้อความ" และยังสามารถเชื่อมโยงลิงก์ได้ ดังนั้นถ้าฟังๆ ดู ก็คงคล้าย หรือใกล้เคียงกับ องค์ประกอบ "รายชื่อลิงก์" 

เมื่อกดแบนเนอร์ จะเห็นหน้าต่าง "ตั้งค่ารายการ" ซึ่งมี 4 ส่วนสำคัญ ดังนี้
  1. หัวข้อ : เพื่อนๆ คงเข้าใจกันหมดแล้ว นะครับ ถ้าตามอ่านมาตั้งแต่แรก?
  2. จำนวนรายการที่จะแสดง : ขึ้นกับข้อมูลจริงที่เราต้องการแสดง แต่ผมมักใส่ไว้เยอะๆ ไว้ก่อนครับ
  3. การเรียง : สามารถกดลูกศร และเลือกได้ ผมเลือกตัวมาตรฐาน "ไม่ต้องจัดเรียง" ครับ
  4. เพิ่มรายการใหม่ : เป็นการพิมพ์รายการ และกดเชื่อมลิงก์ หรือไม่เชื่อมก็ได้ ขึ้นอยู่กับการนำเสนอข้อมูลรายการครับ       วิธีการใช้งาน ของการเพิ่มรายการใหม่ ก็คือ พิมพ์ หรือ copy รายการที่จะแสดงมาวางในช่อง "เพิ่มรายการใหม่"  และถ้าคุณต้องการให้มีการเชื่อมโยงลิงก์ ให้กดที่สัญลักษณ์เชื่อมโยงลิงก์ ใส่ URL ของหน้าเว็บ และเมื่อกดสัญลักษณ์ตัวเชื่อมโยงลิงก์ จะมีหน้าต่างให้ "ป้อน URL ที่คุณต้องการเชื่อมโยง" ขึ้นมาให้ใส่ URL ลงไปนะครับ กดปุ่ม OK ก็เสร็จในขั้นตอนนี้ครับ  เมื่อเสร็จแล้วก็กดเมนู "เพิ่มรายการ"


เมนู "แบบสำรวจ"  

         องค์ประกอบ "แบบสำรวจ" ถือว่าเป็นฟังก์ชั่นกาวรใช้งานที่ควรนำมาใช้งานมากๆ เพราะจะทำให้เราสามารถสื่อสารกับเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านได้ หรืออาจจะนำมาทำกิจกรรมแบบง่ายๆ ก็ได้
         เมื่อกดแบนเนอร์ องค์ประกอบ "แบบสำรวจ" จะเห็นหน้าต่าง "สร้างแบบสำรวจ" ซึ่งมีส่วนสำคัญๆ 5 ส่วนดังนี้
  1. คำถาม : ให้เราตั้งคำถามที่อยากจะสำรวจ หรือหัวข้อของกิจกรรม
  2. คำตอบ : เนื่องจากว่า คำตอบเราคงต้องกำหนดขึ้นมาเอง เพื่อให้ง่ายกับผู้ตอบแบบสำรวจ ซึ่งตรงจุดนี้ เจ้าของบล็อก ที่สร้างแบบสำรวจก็คงต้องคิดก่อนทำเหมือนกันนะครับ
  3. เพิ่มคำตอบอื่น : ในกรณีที่ช่องคำตอบทั้ง 4 ช่อง ไม่พอ เช่นต้องใช้ถึง 6-8 ช่อง ก็สามารถกดเพิ่มได้ที่เมนู "เพิ่มคำตอบอื่น"
  4. ช่องสี่เหลี่ยม ที่ให้ติ๊กถูก เมื่อต้องการให้ผู้ตอบ สามารถแสดงความคิดเห็นได้เกิน 1 คำตอบ ทั้งนี้การจะให้ตอบมากกว่า 1 คำตอบได้นั้น ก็น่าจะขึ้นอยู่กับ คำถามของแบบสำรวจด้วยนะครับ
  5. วันที่และเวลาปิดแบบสำรวจ : ให้กรอกวันที่ เดือน/วัน/ปี ตามแบบที่มีอยู่ ก็ตรงตามความหมายนะครับ

เรื่องที่ 6 แผงควบคุม เมนู "รายชื่อลิงก์" "รายการ" และ "แบบสำรวจ"

ตอนที่ 6

เมนู "รายชื่อลิงก์"




         องค์ประกอบ "รายชื่อลิงก์" สามารถแสดง URL ของเว็บไซต์ หรือเว็บบล็อก ที่เราจะนำมาแสดง ซึ่งเราอาจจะตั้หัวข้อได้หลากหลาย เช่น เว็บไซต์ที่ใช้งานบ่อย เว็บไซต์ที่ชื่นชอบ เว็บไซต์ของเพื่อน หรือ "เว็บบล็อกที่ผมเขียน" ตามที่ผมจะยกตัวอย่างในบทความนี้นะครับ งั้นเพื่อนๆ มาลองใช้งานกันนะครับ 
         เมื่อกดแบนเนอร์ จะแสดงหน้าต่าง "ตั้งค่ารายชื่อลิงก์" ทีผมขออธิบายส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ 
  1. "หัวข้อ" เพราะถ้าเพื่อนๆ ตามอ่านมาตั้งแต่ต้น ก็ใส่หัวข้ออะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับลิงก์ที่จะนำมาวาง
  2. ส่วน "จำนวนลิงก์ที่จะแสดงในรายการ" ให้เราใส่จำนวนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นเว็บบล็อกของเพื่อนมีมาก อาจใส่ไว้ 100 รายการ คือใส่มากก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าใส่น้อย เช่นใส่ 20 รายการ แต่เราเพิ่มลิงก์ไป 40 รายการ ก็จะแสดงเพียง 20 รายการเท่านั้นครับ
  3. ส่วน "การเรียง" ผมไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย โดยปกติจะเป็น ไม่ต้องจัดเรียง เพราะว่าเมื่อเราเพิ่มรายการเรียบร้อย สามารถจัดลำดับได้เองอยู่แล้ว ง่ายๆ ไม่ยากครับ ทาง Blogger ออกแบบไว้ค่อนข้างดีครับ
  4. ส่วน "URL ของไซต์ใหม่" นั้นมีไว้สำหรับใส่ URL ที่เราต้องการแสดง
         ในส่วนที่ 4 นี้ เป็นส่วนสคัญ ในการเพิ่มลิงก์ครับ จะเห็นว่ามี "http://" รอไว้อยู่แล้ว ถ้าก็อบปี้ URL มาอย่าลืมลบของเดิมออกก่อนนะครับ เดี๋ยวจะซ้ำซ้อน ที่สำคัญใช้งานไม่ได้ครับ



เมนู "รายการ"

         องค์ประกอบ "รายการ" ที่สามารถแสดง "ข้อความ" และยังสามารถเชื่อมโยงลิงก์ได้ ดังนั้นถ้าฟังๆ ดู ก็คงคล้าย หรือใกล้เคียงกับ องค์ประกอบ "รายชื่อลิงก์" 

เมื่อกดแบนเนอร์ จะเห็นหน้าต่าง "ตั้งค่ารายการ" ซึ่งมี 4 ส่วนสำคัญ ดังนี้
  1. หัวข้อ : เพื่อนๆ คงเข้าใจกันหมดแล้ว นะครับ ถ้าตามอ่านมาตั้งแต่แรก?
  2. จำนวนรายการที่จะแสดง : ขึ้นกับข้อมูลจริงที่เราต้องการแสดง แต่ผมมักใส่ไว้เยอะๆ ไว้ก่อนครับ
  3. การเรียง : สามารถกดลูกศร และเลือกได้ ผมเลือกตัวมาตรฐาน "ไม่ต้องจัดเรียง" ครับ
  4. เพิ่มรายการใหม่ : เป็นการพิมพ์รายการ และกดเชื่อมลิงก์ หรือไม่เชื่อมก็ได้ ขึ้นอยู่กับการนำเสนอข้อมูลรายการครับ       วิธีการใช้งาน ของการเพิ่มรายการใหม่ ก็คือ พิมพ์ หรือ copy รายการที่จะแสดงมาวางในช่อง "เพิ่มรายการใหม่"  และถ้าคุณต้องการให้มีการเชื่อมโยงลิงก์ ให้กดที่สัญลักษณ์เชื่อมโยงลิงก์ ใส่ URL ของหน้าเว็บ และเมื่อกดสัญลักษณ์ตัวเชื่อมโยงลิงก์ จะมีหน้าต่างให้ "ป้อน URL ที่คุณต้องการเชื่อมโยง" ขึ้นมาให้ใส่ URL ลงไปนะครับ กดปุ่ม OK ก็เสร็จในขั้นตอนนี้ครับ  เมื่อเสร็จแล้วก็กดเมนู "เพิ่มรายการ"


เมนู "แบบสำรวจ"  

         องค์ประกอบ "แบบสำรวจ" ถือว่าเป็นฟังก์ชั่นกาวรใช้งานที่ควรนำมาใช้งานมากๆ เพราะจะทำให้เราสามารถสื่อสารกับเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านได้ หรืออาจจะนำมาทำกิจกรรมแบบง่ายๆ ก็ได้
         เมื่อกดแบนเนอร์ องค์ประกอบ "แบบสำรวจ" จะเห็นหน้าต่าง "สร้างแบบสำรวจ" ซึ่งมีส่วนสำคัญๆ 5 ส่วนดังนี้
  1. คำถาม : ให้เราตั้งคำถามที่อยากจะสำรวจ หรือหัวข้อของกิจกรรม
  2. คำตอบ : เนื่องจากว่า คำตอบเราคงต้องกำหนดขึ้นมาเอง เพื่อให้ง่ายกับผู้ตอบแบบสำรวจ ซึ่งตรงจุดนี้ เจ้าของบล็อก ที่สร้างแบบสำรวจก็คงต้องคิดก่อนทำเหมือนกันนะครับ
  3. เพิ่มคำตอบอื่น : ในกรณีที่ช่องคำตอบทั้ง 4 ช่อง ไม่พอ เช่นต้องใช้ถึง 6-8 ช่อง ก็สามารถกดเพิ่มได้ที่เมนู "เพิ่มคำตอบอื่น"
  4. ช่องสี่เหลี่ยม ที่ให้ติ๊กถูก เมื่อต้องการให้ผู้ตอบ สามารถแสดงความคิดเห็นได้เกิน 1 คำตอบ ทั้งนี้การจะให้ตอบมากกว่า 1 คำตอบได้นั้น ก็น่าจะขึ้นอยู่กับ คำถามของแบบสำรวจด้วยนะครับ
  5. วันที่และเวลาปิดแบบสำรวจ : ให้กรอกวันที่ เดือน/วัน/ปี ตามแบบที่มีอยู่ ก็ตรงตามความหมายนะครับ

    เรื่องที่ 7 แผงควบคุม เมนู "ลิงก์การสมัคร" "สไลด์โชว์" "ผู้ติดตาม" และ "รายการบล็อก"

    ตอนที่ 7

    เมนู "ลิงก์การสมัคร"


             องค์ประกอบ "ลิงก์การสมัคร" เป็นลูกเล่นที่ทาง Blogger มีไว้สำหรับเรา ในกรณีที่เราติดตั้งองค์ประกอบนี้แล้ว คนที่สนใจบทความของบล็อก ก็สามารถสมัครเพื่อรับข้อมูลของเราได้


             เมื่อกดแบนเนอร์ ก็จะเห็นหน้าต่าง "กำหนดค่าลิงก์การสมัคร" ติดตั้งง่ายมากครับ แค่กด "บันทึก" ก็เสร็จสิ้นเลยครับ




    เมนู "สไลด์โชว์"

             องค์ประกอบ "สไลด์โชว์" มีไว้สำหรับใส่ภาพมาโชว์จากเว็บไซต์ในเครือ หรือพันธมิตร ของ Google


             เมื่อกดแบนเนอร์ จะเห็นหน้าต่าง "กำหนดค่าสไลด์โชว์" ซึ่งสามารถเปลี่ยนหัวข้อได้ เลือกที่มาของภาพจากเว็บที่กำหนด เลือกคีย์เวิร์ด หรืออัลบั้ม ถ้าเลือกคีย์เวิร์ด ก็ให้ใส่คีย์เวิร์ดที่อยากให้มีภาพมาแสดง เช่น Sea หรือ Sunset เป็นต้น ก็จะมีภาพที่เป็นวิวทะเล หรือ พระอาทิตย์ มาแสดง จากนั้นก็กดบันทึกเหมือนเดิมครับ


    เมนู "ผู้ติดตาม"

             องค์ประกอบ "ผู้ติดตาม" มีไว้สำหรับแสดงว่ามีใครบ้างที่ติดตามดูล็อกของเรา ซึ่งก็จำเป็นว่าจะแสดงเฉพาะสมาชิกของ Blogger เท่านั้นครับ
     
           ติดตั้งง่ายครับ เมื่อกดแบนเนอร์ เห็นหน้าต่าง "กำหนดค่ารายการผู้ติดตาม" ก็กดบันทึกเลย ถือว่าเสร็จเรียบร้อย


    เมนู "รายการบล็อก"
             องค์ประกอบ "รายการบล็อก" ก่อนหน้านี้มีองค์ประกอบ "ลิงก์การสมัคร" ที่คนอื่นอยากดู อยากติดตามบล็อกของเรา ดังนั้น "รายการบล็อก" จะตรงกันข้าม คือ เราสนใจติดตามอ่านบล็อกจากที่อื่นเหมือนกัน


           กดแบนเนอร์ จะเห็นหน้าต่าง "กำหนดค่ารายการบล็อก" สามารถตังหัวข้อได้ใหม่ เลือกรายการแสดง เลือกการแสดง เมื่อกดเมนู "เพิ่มรายการ" จะมีหน้าต่างให้ใส่ URL เพื่อติดตามงานของบ็อกนั้นๆ และก็กดบันทึก เป็นอันเสร็จสิ้น

    เรื่องที่ 7 แผงควบคุม เมนู "ลิงก์การสมัคร" "สไลด์โชว์" "ผู้ติดตาม" และ "รายการบล็อก"

    ตอนที่ 7

    เมนู "ลิงก์การสมัคร"


             องค์ประกอบ "ลิงก์การสมัคร" เป็นลูกเล่นที่ทาง Blogger มีไว้สำหรับเรา ในกรณีที่เราติดตั้งองค์ประกอบนี้แล้ว คนที่สนใจบทความของบล็อก ก็สามารถสมัครเพื่อรับข้อมูลของเราได้


             เมื่อกดแบนเนอร์ ก็จะเห็นหน้าต่าง "กำหนดค่าลิงก์การสมัคร" ติดตั้งง่ายมากครับ แค่กด "บันทึก" ก็เสร็จสิ้นเลยครับ




    เมนู "สไลด์โชว์"

             องค์ประกอบ "สไลด์โชว์" มีไว้สำหรับใส่ภาพมาโชว์จากเว็บไซต์ในเครือ หรือพันธมิตร ของ Google


             เมื่อกดแบนเนอร์ จะเห็นหน้าต่าง "กำหนดค่าสไลด์โชว์" ซึ่งสามารถเปลี่ยนหัวข้อได้ เลือกที่มาของภาพจากเว็บที่กำหนด เลือกคีย์เวิร์ด หรืออัลบั้ม ถ้าเลือกคีย์เวิร์ด ก็ให้ใส่คีย์เวิร์ดที่อยากให้มีภาพมาแสดง เช่น Sea หรือ Sunset เป็นต้น ก็จะมีภาพที่เป็นวิวทะเล หรือ พระอาทิตย์ มาแสดง จากนั้นก็กดบันทึกเหมือนเดิมครับ


    เมนู "ผู้ติดตาม"

             องค์ประกอบ "ผู้ติดตาม" มีไว้สำหรับแสดงว่ามีใครบ้างที่ติดตามดูล็อกของเรา ซึ่งก็จำเป็นว่าจะแสดงเฉพาะสมาชิกของ Blogger เท่านั้นครับ
     
           ติดตั้งง่ายครับ เมื่อกดแบนเนอร์ เห็นหน้าต่าง "กำหนดค่ารายการผู้ติดตาม" ก็กดบันทึกเลย ถือว่าเสร็จเรียบร้อย


    เมนู "รายการบล็อก"
             องค์ประกอบ "รายการบล็อก" ก่อนหน้านี้มีองค์ประกอบ "ลิงก์การสมัคร" ที่คนอื่นอยากดู อยากติดตามบล็อกของเรา ดังนั้น "รายการบล็อก" จะตรงกันข้าม คือ เราสนใจติดตามอ่านบล็อกจากที่อื่นเหมือนกัน


           กดแบนเนอร์ จะเห็นหน้าต่าง "กำหนดค่ารายการบล็อก" สามารถตังหัวข้อได้ใหม่ เลือกรายการแสดง เลือกการแสดง เมื่อกดเมนู "เพิ่มรายการ" จะมีหน้าต่างให้ใส่ URL เพื่อติดตามงานของบ็อกนั้นๆ และก็กดบันทึก เป็นอันเสร็จสิ้น




รวบรวมความรู้ต่างๆ เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี กำนันก็มาดู

อาจารย์สมภพ จุลถาวรทรัพย์

อาจารย์สมภพ  จุลถาวรทรัพย์
7 ถ.หนองขาม2 อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 30120 โทร 0872407227
Powered By Blogger

Translate(เปลี่ยนภาษา ครับท่าน)

ผู้ติดตาม