ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ชีวิตกับสังคมไทย หน่วยที่ 3 วัฒนธรรม


หน่วยที่ 3 วัฒนธรรม 

มนุษย์กับวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเป็นเครื่องกำหนดวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันคบหาสมาคม ประกอบอาชีพร่วมกัน ล้วนเป็นผลมาจากวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข สังคมและวัฒนธรรมจึงจำเป็นของคู่กันโดยมนุษย์เป็นผู้สร้างวัฒนธรรม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งสร้างความเจริญให้แก่สังคมของมนุษย์ 


 ความหมายของมนุษย์
มนุษย์ เป็นสัตว์สังคมที่มีลักษณะพิเศษที่เจริญกว่าสัตว์ทั้งหลาย รู้จักใช้เหตุผล มีจิตใจสูงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน ต้องการความรัก ความอบอุ่น การยอมรับ เกียรติยศ ความสำเร็จด้วยการสร้างสรรค์ สั่งสมประสบการณ์ เอาชนะธรรมชาติและพัฒนาตนเอง เริ่มจากการพึ่งพาอาศัยกันมนุษย์มีสติปัญญาจากการเรียนรู้ ระยะเวลาที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ดังนั้นยาวนานกว่าสัตว์อื่น เพราะตั้งแต่เป็นทารก เป็นเด็ก ต้องได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ ทำให้เกิดการเรียนรู้สังคมให้มีชีวิตรอด มีการสื่อสารถ่ายทอดประดิษฐ์คิดค้น เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ด้วยกันเอง มีกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้สังคมพัฒนา มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปตามลำดับ
การที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงทำให้สามารถพัฒนาตนเองได้ดีกว่าสัตว์อื่นนอกจากนี้มนุษย์ยังมีลักษณะพิเศษ กว่าสัตว์อื่น ๆ ดังนี้
1. มนุษย์มีร่างกายตั้งฉากกับพื้นโลกผิดจากสัตว์อื่น 
2. มีมันสมองมากว่า จึงเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์อื่น 
3. มีนัยน์ตาอยู่ด้านหน้า สามารถมองเห็นได้รอบ
4. มีเพศสัมพันธ์ไม่จำกัดฤดูกาล สามารถสร้างสมาชิกใหม่ให้สังคมได้เมื่อมนุษย์ต้องการ
5. มีมือที่สมารถหยิบจับสิ่งของได้ถนัดกว่าสัตว์อื่น
6. มีวัฒนธรรม คุณธรรม และจริยธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม 
คำว่า วัฒนธรรม มาจากภาษาอังกฤษว่า Culture ซึ่งคำเดิมในภาษาละตินคือ Cultura มีความหมายหลายอย่าง เช่น การเพราะปลูก การปลูกฝัง การปลูกพืช การทำให้ดีกว่าเดิมโดยการอบรมหรือฝึกหัด  ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552 คำว่า วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ ดังนั้น สิ่งใดก็ตามหากมีการเจริญขึ้นด้วยการศึกษาอบรมจะอยู่ในขอบข่าย ความหมายของคำว่าวัฒนธรรมได้ทั้งสิ้น
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติไว้ โดยมาจากการรวมกันสองคำ คือ
 - วฒน มาจาก วุฒุน ในภาษาบาลี หมายถึง ความเจริญงอกงาม 
 - ธรรม มาจาก ธรุม ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สภาพที่เป็นอยู่จริง
วัฒนธรรม หมายถึง สภาพที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม หรือความมีระเบียบวินัย นิยามของคำว่า วัฒนธรรมนั้น ยังมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้คำจำกัดความไว้ แต่กล่าวโดยสรุปแล้ว ความหมายของวัฒนธรรมเป็นดังนี้
วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคมในการดำเนินชีวิตของคน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าคนส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงาม โดยสร้างเป็นกฎเกณฑ์แบบแผน เพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นไปตามรูปแบบเดียวกัน ถือเป็น "มรดกแห่งสังคม" เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้รับมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดให้แก่อนุชนรุ่นหลัง จนเป็นวิถีของสังคม

ลักษณะของวัฒนธรรม 
วัฒนธรรมมีลักษณะสำคัญซึ่งอาจแยกกล่าวได้ ดังนี้
1. วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากากรเรียนรู้ (Learned Behavior)
วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด และไม่ใช่สิ่งที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น กริยาท่าทาง การพูด การเขียน การแต่งกาย มารยาทต่าง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้ต้องอาศัยการเรียนรู้เท่านั้นจึงจะทำได้ การที่มนุษย์สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมได้ ก็เพราะมนุษย์สามารถติดต่อทำความเข้าใจกันโดยใช้สัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดคือ ภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนแต่ถ้ามนุษย์ถูกแยกออกจากเพื่อนมนุษย์อื่นและไม่ได้รับการสั่งสอนก็ไม่อาจทำสิ่งต่าง ๆได้ ดังนั้น การที่เด็กขาดลักษณะของความเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ ก็เพราะว่าไม่ได้เรียนรู้วัฒนธรรม วัฒนธรรมจึงเป็นพฤติกรรมที่ต้องเรียนรู้
2. วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต (Way of Life)
ในทางสังคมศาสตร์ กล่าว วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต เป็นตัวกำหนดรูปแบบที่จดจำสืบต่อกันมาทั้งด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การปกครอง การกิน การเขียน การทำงาน ล้วนเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นแบบแผนกันไปในแต่ละชาติ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมจีน หรือวัฒนธรรมตะวันตกเป็นต้น
      
วัฒนธรรมการแต่งงานแต่ละชาติ

 3. วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม (Social Heritage) 
วัฒนธรรมของมนุษย์นั้นสามารถถ่ายทอดสืบสารต่อกันได้ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ช่วยให้มนุษย์สื่อสารและเข้าใจกันได้

      
ศิลาจารึก

4. วัฒนธรรมเป็นลักษณะที่เหนืออินทรีย์ (The Superorganic ) 
หมายถึงวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นสิ่งไม่คงที่นั้นคือ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เกี่ยวพันกับ กระบวนการทางพันธุกรรม หรือไม่เกี่ยวข้อง กับร่างกายนั่นเอง มนุษย์ชาติทั้งมวล สามารถได้รับประโยชน์ จากสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สภาพแวดล้อมที่สะดวกรวดเร็วขึ้นผลที่ ตามมาคือมีการสร้างท่าอากาศยาน ถนนหนทาง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผลต่อสังคมใน ด้านอื่นๆมากมาย     

องค์ประกอบของวัฒนธรรม 
วัฒนธรรมเป็นผลจาการที่มนุษย์ได้เข้าควบคุมธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดการจัดระเบียบทางสังคม ระบบความเชื่อ ศิลปกรรมต่างๆ ค่านิยม ตลอดจนวิทยาการใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ให้ตอบสนองรองรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเพื่อเป็นการปรับตัวให้ทันกับสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรจะเข้าใจในเรื่องของวัฒนธรรมว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ที่รวมกันแล้วทำให้เกิดรูปแบบของวัฒนธรรมขึ้นมาซึ่งมีตัวอย่าง 4 ส่วน ดังนี้
1. องค์มติ (Concept) หมายถึง ความเชื่อ ความคิดเห็น ความเข้าใจ ตลอดจนอุดมการณ์ต่างๆ เช่น ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นเครื่องชี้เจตนาความเชื่อในเรื่องของการมีผัวเดียวเมียเดียวที่ถือเป็นขนบธรรมเนียมค่านิยมของสังคมที่บ่งบอกว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีงามของสังคมไทย ซึ่งควรแก่การยกย่องความเชื่อในเรื่องของการตายและการเกิดใหม่ ความเชื่อในเรื่องของพระเจ้าองค์เดียวหรือหลายองค์ตลอดจนทัศนคติการยอมรับในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ซึ่งแล้วแต่กลุ่มชนจะใช้มาตรฐานใดในการตัดสิน หรือเป็นเครื่องวัดสภาพแวดล้อมของตน
2. องค์การ (Association or Organization) หมายถึง กลุ่มสังคมที่มีการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราได้เป็นระเบียบ และมีระบบในการบริหารงานอย่างชัดเจน ทำให้เกิดความสะดวกสบายรวดเร็วถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการบริหารงาน หรือทำงานและปกครองคนได้อย่างดี เช่น สถาบัน สมาคม สโมสร วัดสภากาชาด สหพันธ์กรรมกร กลุ่มลูกเสือ ครอบครัว (องค์กรที่เล็กที่สุด)องค์การที่ใหญ่ที่สุดก็คือ องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น
3. องค์พิธีการ (Usage) เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยอมรับกันโดยทั่วไปซึ่งแสดงออกในรูปพิธีกรรมต่างๆ เช่น ประเพณีการโกนผมไฟ พิธีการแต่งงาน การตายหรือพิธีตั้งศพ
4. องค์วัตถุ (Instrumental and Symbolic Objects) คือ วัฒนธรรมทางวัตถุที่มีรูปร่างสามารถมองเห็นสัมผัสแตะต้องได้ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ในระบบการเกษตรกรรม ระบบการอุตสาหกรรม โรงเรียน อาคารสถานที่ต่างๆ วัด โบสถ์ วิหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ทางวัฒนธรรมเช่น คนโทน้ำ จานถ้วย และมีด กาน้ำตลอดจนผลผลิตของมนุษย์ในทางศิลปกรรม เช่น ภาพเขียน รูปปั้น ส่วนองค์วัตถุที่ไม่มีรูปร่างก็จะเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงสัญลักษณ์ในการติดต่อสื่อความหมาย เช่น ภาษา ตัวเลข มาตราชั่ง ตวง วัด 

ประเภทของวัฒนธรรม
ประเภทของวัฒนธรรมนั้น มีการจำแนกเป็น 2 แนวคิด ดังนี้
แนวคิดที่ 1 ตามหลักด้านสังคมวิทยา - แนวคิดที่ 2 ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2585

           แนวคิดที่ 1 แบ่งประเภทวัฒนธรรมตามหลักทางด้านสังคมวิทยา ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยทั่วไปแบ่งได้ 2 ประเภท ตามลักษณะสภาพสังคมในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้จะต้องสอดคล้องเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน แต่รูปแบบที่มีลักษณะสวนทางกันซึ่งแนวคิดนี้จำแนกเป็น
 - วัฒนธรรมทางวัตถุ (material Culture)
 - วัฒนธรรมที่ไม่วัตถุ (Non-material Culture)

1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Culture) หมายถึง วัฒนธรรมด้านรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้
           มีรูปร่าง จากสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาใช้ในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร บ้านเรือน ยารักษาโรคเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ (Non - material Culture) 
หมายถึงวัฒนธรรมด้านนามธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น ภาษา ความคิด ค่านิยม ถ้อยคำที่ใช้พูด ถ้อยคำที่ใช้พูด ประเพณี ความเชื่อที่มนุษย์ยึดถือเกี่ยวกับศาสนา ลัทธิทางการเมือง วัฒนธรรมประเภทนี้บางครั้งรวมเอากติกาการแข่งขันกีฬา แนวคิดเกี่ยวกับยุทธวิธีของผู้แข่งขัน และการดูการแข่งขันไว้ด้วย

วัฒนธรรมความเชื่อ ศรัทธา


โดยทั่วไปแล้วการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ทั้งวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ แต่ถ้าวัฒนธรรมทั้งสองส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไม่เท่ากันก็จะทำให้เกิดภาวะวัฒนธรรมล้า (Culture Lag) ส่วนใหญ่วัฒนธรรมทางวัตถุมักเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ เช่นสังคมไทยเรารับเอาความเจริญทางวัตถุจากตะวันตกมาใช้ ทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ แต่ส่วนใดที่ไม่ใช้วัตถุ เช่น เรื่องระเบียบวินัย ความรับผิดชอบลักษณะนิสัยการทำงาน ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดยังเปลี่ยนแปลงช้ากว่าส่วนที่เป็นวัตถุ จึงทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจราจร ปัญหาอาชญากรรม หรือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

รวบรวมความรู้ต่างๆ เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี กำนันก็มาดู

อาจารย์สมภพ จุลถาวรทรัพย์

อาจารย์สมภพ  จุลถาวรทรัพย์
7 ถ.หนองขาม2 อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 30120 โทร 0872407227
Powered By Blogger

Translate(เปลี่ยนภาษา ครับท่าน)

ผู้ติดตาม