ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ชีวิตกับสังคมไทย หน่วยที่ 2 สังคมไทย


หน่วยที่ 2 สังคมไทย 

ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย
ลักษณะของสังคมไทย(The Characteristics of Thai Society) 
เป็นสังคมที่บุคคลสามารถเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ตนพอใจ ไม่ยึดถือว่าต้องปฏิบัติเป็นแบบเดียวกัน สังเกตได้จาก ค่านิยมของคนไทยหลายประการที่ขัดกันเองเช่น " ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม" ในขณะเดียวกันก็มีค่านิยมว่า"น้ำขึ้นให้รีบตัก" หรือ "มือใครยาว สาวได้สาวเอา" เป็นการแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ที่ยึดมั่นในสิ่งใดหรือไม่จริงจังต่อสิ่งใด ขอให้สบายก็แล้วกัน บุคคลจะทำตามความพอใจมากกว่าสังคม มีการยืดหยุ่น ไม่กฎตายตัวแต่ก็ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือถึงกับทำให้เดือดร้อนจนอยู่ในสังคมนี้ได้

สังคมไทย (Thai Society) 
          จัดเป็นรูปแบบสังคมเกษตรกรรม(Agratian Society)  ประเภทมาณ ร้อยละ 80 ของประชากรทั่วประเทศทำการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ ระบบสังคมไทย (Society system) อาจแบ่งเป็น 2 ระบบคือ
      - สังคมชนบท (Rural Society)
                 - สังคมเมือง (Urban Society)
ทั้งสองระบบนี้เป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่ และวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงน้อย จะเปลี่ยน แปลงน้อยจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะ ผู้อยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นเพียงคน กลุ่มน้อย ของ สังคมไทย เพราะประชากรส่วนใหญ่จะอยู่ในชนบททำการเกษตร ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมีการศึกษา น้อยฐานะยากจน ไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ ยึดถือเงินตรา เกียรติ อำนาจ มีโครงสร้างของชนชั้นยกย่องความเป็นเจ้าคนนายคน ยึดบุคคลเป็นหลัก ยกย่องผู้อาวุโส

ลักษณะที่สำคัญของสังคมไทย
           1. ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก
           2. มีนิสัยประนีประนอม
           3. มีนิสัยพึ่งพาอาศัยกัน ให้ความสำคัญระบบอุปถัมภ์
           4. มีลักษณะนิสัยเรื่องเป็นเจ้าคนนายคน คือ ให้ความสำคัญกับลาภยศ
           5. มีความรักเทิดทูลพระมหากษัตริย์
           6. นับถือพุทธศาสนา
           7. ไม่มีความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม

ลักษณะเด่นของสังคมไทย
           จากลักษณะสำคัญของสังคมไทยที่กล่าวมาแล้ว พอสรุปลักษณะเด่นของสังคมไทยได้ดังนี้
                    1. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรร้อยละ 80 เป็นเกษตรกร
                    2. มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจ ความรัก ความสามัคคี ของชาวไทย
                    3. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับนับถือ ประมาณร้อยละ95 ส่วนศาสนาอื่นรองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู และศาสนาซิกข์
                    4. มีการอพยพแรงงานเข้าสู่ตัวเมือง เนื่องจากภัยแล้ง ทำการเกษตรไม่ได้
                    5. ประชาชนมีฐานะยากจน การศึกษาและโภชนาการยังอยู่ในระดับต่ำ
                    6. ความเจริญส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองหลวงและเขตเมืองใหญ่
                    7. ชอบความสนุกสนานรื่นเริง 

ลักษณะสังคมชนบทและสังคมเมือง 
ลักษณะสังคมชนบท (Rural Society)
บางทีเรียกว่า สังคมแบบชาวบ้าน (Folk Society) ซึ่งจัดว่ามีความสำคัญที่สุดในสังคมไทย เพราะเป็นโครงสร้างหลักเกือบทั้งหมดของประเทศไทย อันมีผลมาจากพฤติกรรมทั้งทางขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม พอสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. ประชากรมีความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ ประชากรอยู่ตามธรรมชาติ ไม่หนาแน่นมีการแข่งขันกันน้อยสภาพการครองชีพต่ำ
           2. ส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำให้ต้องพึ่งพาอาศัยแรงงานแลกเปลี่ยนกัน มีความใกล้ชิดกัน จึงมีความสนิทสนมกัน
3. ลักษณะครอบครัวมีความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้มเป็นหน่วยที่สำคัญทางเศรษฐกิจช่วยกันทำงานทำเครื่องมือ เครื่องใช้ทอผ้าเอง ทำอาหารเอง
4. ชุมชนมักตั้งอยู่นอกเมือง เป็นหมู่บ้าน ตำบล กระจายอยู่ห่างกัน มีประชากรไม่หนาแน่น
     
 5. วัดและศาสนสถาน เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมศาสนา ในสมัยก่อนวัดเป็นแหล่งความรู้ อบรมบ่มนิสัย ปัจจุบันวัดก็ยังมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย
6. ส่วนใหญ่ยึดมั่นอยู่กับขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย
     
           7. ค่านิยมในเรื่องคุณงามความดีในทางศาสนา เป็นตัวควบคุมความประพฤติทางสังคม
  
 ลักษณะสังคมเมือง (Urban Society)


จัดว่าเป็นสังคมที่มีความซับซ้อน เป็นศูนย์กลางทางความเจริญ และความเสื่อมรวมอยู่ด้วย เมืองเป็นสถานที่ตั้งถิ่นฐานอันถาวร หนาแน่นด้วยประชากร และเป็นที่รวมของคนที่มีความแตกต่างทางพื้นเพ ซึ่งอยู่ในเขตเมือง เทศบาล เป็นต้น สังคมเมืองมีลักษณะดังนี้                        
1. ประชากรมีความสัมพันธ์กันแบบทุติยภูมิประชากรอยู่อย่างหนาแน่น มีการแข่งขันสูงมีชุมชนอุตสาหกรรม ฐานะร่ำรวยและยากจนแตกต่างกัน
2. มีอาชีพหลายหลาย ทั้งธุรกิจ การค้า ราชการ ลูกจ้าง อุตสาหกรรม อาชีพบริการ ฯลฯ ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนมีความผูกพันธ์กันน้อยมาก ต่างรักษาผลประโยชน์ของตนเอง
3. ครอบครัวมีความผูกพันน้อย เพราะความจำเป็นในเรื่องของเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวมีภาระต้องทำ ไม่ค่อยมีเวลาให้แก่กัน อีกทั้งความผูกพันกับเพื่อนบ้านก็มีน้อย
4. ชุมชนตั้งอยู่ในเขตที่มีผู้อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นศูนย์กลางความเจริญ มีประชากรหนาแน่นกว่าชนบท มักเกิดปัญหาขึ้นในสังคมมากมาย                
5. วัดและศาสนสถานยังเป็นที่สักการะเครารพ แต่คนไทยในปัจจุบันเห็นสถาบันทางศาสนาเป็นเพียงสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และสั่งสอนหลักธรรม จริยธรรม แก่คนในสังคมเท่านั้น         
6. มีการละเมิดขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีที่ดีงาม รับอธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกสูง           
7. ค่านิยมจะเน้นหนักในเรื่องอำนาจ ความมั่นคง การย่องย่องสังคมชั้นสูง และมีความต้องการในการเลื่อนชั้นทางสังคมสูง

รวบรวมความรู้ต่างๆ เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี กำนันก็มาดู

อาจารย์สมภพ จุลถาวรทรัพย์

อาจารย์สมภพ  จุลถาวรทรัพย์
7 ถ.หนองขาม2 อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 30120 โทร 0872407227
Powered By Blogger

Translate(เปลี่ยนภาษา ครับท่าน)

ผู้ติดตาม