ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เรื่องระบบปฏิบัติการ


ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง เพื่อให้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรม DOX, UNIX หรือ Windows เป็นต้น การมีซอร์ฟแวร์ระบบหรือโปรแกรมระบบปฏิบัติการนี้ทำให้สามารถเพิ่มโปรแกรมลงไปในคอมพิวเตอร์ได้ง่ายอีกด้วย เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน ซอร์ฟแวร์ระบบนี้จะถูกโหลด (load) ขึ้นมาทำงานเป็นลำดับแรก
2.1 ระบบปฏิบัติการคืออะไร
ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างโดยซอร์ฟแวร์หรือเฟิร์มแวร์ (firmware คือ โปรแกรมที่ประกอบด้วยไมโคโค้ดโปรแกรม ซึ่งเก็บอยู่ในหน่วยความจำ ROM และ PROM ) หรือทังซอร์ฟแวร์ และเฟิร์มแวร์ เพื่อให้ฮาร์ดแวร์สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีความถูกต้องแม่นยำ
ความสำคัญของระบบปฏิบัติดาร
ถ้ามีรถยนต์อยู่แต่ขับไม่เป็น รถยนต์คันดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์เลย คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเพียงใดก็ตาม ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ไม่มีระบบปฏิบัติการคอยควบคุมการทำงานซึ่งเปรียบได้กับรถยนต์ที่ไม่มีคนขับ เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์เลย ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงมีความสำคัญเปรียบเสมือนกับคนขับรถยนต์ที่ต้องควบคุมรถให้เดินทางถึงที่หมายอย่างถูกต้องและปลอดภัย ระบบปฏิบัติการก็จะต้องควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่ต้องการเพื่อให้ไดเผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
          ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการไม่ได้นำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ต่างๆ เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องเล่นเกมหรือแม้กระทั่งเครื่องซักผ้า ก็มีระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานต่างๆ เช่นกัน แต่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบสำหรับอุปกรณ์นั้นๆ โดยเฉพาะ
2.2 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
          หน้าที่ของระบบปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
          หน้าที่หลัก คือ จัดการทรัพยากรต่างๆ ภายในระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ อุปกรณ์ อินพุต-เอาต์พุต อุปกรณ์สื่อสาร และข้อมูล
          หน้าที่รอง ประกอบด้วย
          1. เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้ (user interface) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงาน ของฮาร์ดแวร์ได้ ซึ่งการติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้อาจอยู่ในรูปของตัวอักษรหรือรูปภาพ (Graphic User Interface: GUI) ดังรูป




ลักษณะการทำงานของ OS ในการเป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้
1.  ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้ ในองค์กรส่วนใหญ่จะมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 คน ขึ้นไป และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล เป็นต้น
2.  ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ระบบปฏิบัติการอนุญาตให้ผู้ใช้แต่ละคนมีสิทธิในข้อมูลนั้นๆ และช่วยจัดคิวของผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ
3.  แก้ไขปัญหาการทำงานของระบบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์บางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดในขณะที่ทำงานอยู่ ระบบปฏิบัติการจะทำการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพอยู่เสมอ
4.  ช่วยให้หน่วยอินพุต-เอาต์พุตทำงานได้คล่องตัว ในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุตต่างๆ ต้องอาศัยระบบปฏิบัติการเพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานได้ถูกต้องและสอดคล้องกัน
5.  คำนวณทรัพยากรที่ใช้ไป ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อระบบปฏิบัติการจะช่วยคำนวณทรัพยากรที่ใช้ไปแล้ว เพื่อให้ผู้ใช้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
6.  ช่วยให้ระบบทำงานเป็นแบบขนาน ระบบปฏิบัติการจะแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ เรียกว่า โปรเซส (Process)  ซึ่งจะทำให้การทำงานเสร็จเร็วยิ่งขึ้น
7.  จัดการโครงสร้างของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อข้อมูลและมีการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
8.  ควบคุมการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย เนื่องจากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการับส่งข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในระบบ ซึ่งการติดต่อสื่อสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นต้องอาศัย ระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
2.3 หลักการทำงานของระบบปฏิบัติการ
         เนื่องจากการทำงานของระบบปฏิบัติการ คือ การจักการโปรแกรมต่างๆ ที่กำลังทำงานให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมต่างๆ  ที่กำลังทำงานอยู่นั้น เรียกว่า โปรเซส (Process) ดังนั้นในการอธิบายหลักการทำงานของระบบปฏิบัติการ จะขอกล่าวถึงวิธีจัดการทำงานโปรเซสของระบบปฏิบัติการว่ามีกระบวนการอย่างไรบ้าง   เมื่อระบบปฏิบัติการสร้างโปรเซสขึ้นมา ก็จะมีการนำโปรเซสดังกล่าวเข้าสู่ระบบการทำงาน ดังแสดงในรูป ซึ่งขั้นตอนการทำงานจะแบ่งตามสถานะของโปรเซส ดังนี้

                          

            1) สถานะพร้อม (ready state) หมายถึง สถานะของโปรเซสใหม่ที่พร้อมจะเข้าใช้งาน CPU เมื่อ ระบบปฏิบัติการให้โปรเซสดังกล่าวเข้าใช้งานได้
2) สถานะทำงาน ( running state) หมายถึง สถานะของโปรเซสที่กำลังใช้ CPU ในการทำงานตามความต้องการของโปรเซสนั้น และเมื่อหมดเวลาในการเข้าใช้งาน CPU ที่ระบบปฏิบัติการกำหนดไว้โปรเซสดังกล่าวก็จะกลับมาอยู่ในสถานะพร้อมเพื่อรอใช้งาน CPU ในครั้งต่อไป
3) สถานะติดขัด ( blocked state) หมายถึง สถานะของโปรเซสที่หยุดหารทำงานเพื่อรอเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโปรเซสที่กำลังทำงานอยู่ต้องมีการติดต่อกับอุปกรณ์อินพุต-เอาต์พุต โปรเซสที่อยู่ในสถานะทำงานก็จะเปลี่ยนมาเป็นโปรเซสที่อยู่ในสถานะติดขัด เพื่อเปิดโอกาสให้โปรเซสอื่นสามารถเข้าใช้งาน CPU ได้
4) สถานะแน่นิ่ง (deadlocked ) หมายถึง สถานะของโปรเซสที่หยุดการทำงานเพื่อรอเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีวันจะเกิดขึ้น ซึ่งสถานะดังกล่าวนี้จะทำให้โปรแกรมที่ใช้อยู่หยุดค้างการทำงาน (hang) หรืออาจจะทำให้คอมพิวเตอร์หยุดค้างการทำงานได้เช่นกัน
2.4 ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ
          ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วน
          เคอร์เนล (kernel)  หมายถึง ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ถูกเรียกมาใช้งาน และจะฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำหลักของระบบ ดังนั้น เคอร์เนลจึงต้องมีขนาดเล็ก โดยเคอร์เนลจะมีหนีที่ในการติดต่อและควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมใช้งาน (application programs)
          โปรแกรมระบบ (system programs ) คือ ส่วนของโปรแกรมการทำงานของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ และผู้จัดการระบบ ( system administrator)
2.5 คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ
             ระบบปฏิบัติโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่างๆดังนี้
-             แบบหลายผู้ใช้(multi-user) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปสามารถเลือกใช้งานโปรแกรมได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์
-        แบบมัลติโปรเซสซิ่ง (multiprocessimg) หมายถึง ระบบปฏิบัติการซึ่งสามารถใช้ CPU มากกว่า 1 ตัว ในการประมวลผล หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบปฏิบัติการที่มีการประมวลผลแบบขนาน ( parallel processiog)
-             แบบมัลติทาสกิ้ง ( multitasking) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในเวลาเดียว โดยระบบปฏิบัติการแบบมัลติทาสกิ้งจะทำการแบ่งเวลาการใช้งาน CPU ของโปรแกรมแต่ละตัว ทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมได้พร้อมกัน
-          แบบมัลติทรีดดิ้ง( multithreading) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ส่วนต่างๆ ( thread ) ภายในโปรแกรมเดียวกันสามารถทำงานได้พร้อมกัน
-     แบบเวลาจริง ( real time ) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่ตอบสนองต่ออินพุตแบบทันทีทันใด จะเป็นระบบปฏิบัติการทีสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะงาน
     ในบางครั้งความหมายของมัลติโปรเซสซึ่งก็อาจหมายถึง ระบบปฏิบัติการที่เป็นแบบมัลติทาสกิ้งก็ได้ แต่จะ
แตกต่างกันที่แบบมัลติทาสกิ้งจะเป็นการใช้งานโปรแกรมบนระบบที่มีซีพียูเพียงตัวเดียวเท่านั้น
2.6 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
    ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ถูกนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ไปจนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอขนาดพกพา แบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
-         ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand alone OS) นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น
-        ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ( Network OS หรือ NOS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้
-        ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embeded OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือสมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้ เป็นระบบที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางรุ่นระบบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง
ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( Stand-alone OS )
DOS ( DiskOparating system)
          DOS เป็นระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์พีซี ( Personal computer: PC) ของบริษัทไอบีเอ็ม ( IBM ) หรือเครื่องไอบีเอ็มคอมแพตติเบิ้ล ( IBM compatible PC ) ที่เคยเป็นที่นิยมใช้งานมากในอดีตหรือแม้แต่ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้งานกันอยู่ ดอส เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบงานเดียว ( Single Task ) หมายความว่าที่มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานใดอยู่ จะต้องรอจนกว่างานนั้นเสร็จก่อนจึงจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างอื่นต่อไป
          DOS เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากในหมู่ที่ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นผลงานของบริษัทไมโครซอฟท์คอร์เปอร์เรชั่น( Microsoft corporation ) ความเป็นมาเริ่มจากที่บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อว่าพีซี และว่าจ้างบริษัทไมโครซอฟท์ให้ช่วยออกแบบระบบปฏิบัติการของเครื่องพีซีนี้ โดยใช้ชื่อว่าพีซีดอส ( PC – DOS ) เครื่องพีซีได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนมีบริษัทอื่นๆ สร้างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เลียนแบบเครื่องไอบีเอ็ม ซึ่งสามารถทำงานได้เหมือนกัน เป็นเครื่องแบบเดียวกัน
Windows
          Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง ซึ่งต่างจากระบบปฏิบัติการDOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบงานเดี่ยว และผู้ใช้ต้องจดจำคำสั่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก บริษัทไมโครซอฟท์จึงคิดค้นและพัฒนาโปรแกรมระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้และใช้รูปภาพแทนคำสั่งต่างๆ นั้นคือ ระบบปฏิบัติการ windows
          ในการที่จะใช้ windows นั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีประสิทธิภาพสูง ด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้ในระยะแรก windowsจึงไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรอย่างไรก็ตามวงการคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่ราคาถูกลง ด้วยเหตุนี้เอง windows จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกจับตามอง และในปี ค.ศ. 1990 บริษัทไมโครซอฟท์ได้พัฒนา windows 3.0 และได้รับความนิยมอย่างสูง ไมโครซอฟท์จึงพัฒนา windows 3.1 และ windows 3.11 ส่งผลให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายคนหันมาใช้windows
 Mac OS X
       ในปี 1984 บริษัทแอปเปิ้ลได้วางจำหน่ายระบบปฏิบัติการ Mac OS สำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช โดยมีการเชื่อมต่อกบผู้ใช้ผ่านทางรูปภาพทำให้ใช้งานง่าย ระบบนี้จะสนับสนุนการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง สำหรับรุ่นในปัจจุบัน คือ Mac OS X (อ่านว่า แมคโอเอสเท็น) ตัวนี้สามารถแสดงวีดีโอแบบ 3 มิติได้ สนับสนุนงานบนเครือข่ายและงานด้านมัลติมีเดียได้อย่างดี
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS)
Windows server
          Windows server เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับภายในองค์กร จัดการด้านเครือข่าย และความปลอดภัยสูง ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ รุ่นแรกที่มีชื่อว่า Windows NT จากนั้นได้พัฒนาคุณสมบัติต่างๆ เพิ่มขึ้นมีเสถียรภาพสูงขึ้น ปัจจุบันพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น Windows Server 2012
Unix
          ยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้มีผู้ใช้พร้อมๆ กันได้หลายคน จึงต้องมีวิธีป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้แต่ละคน โดยผู้ใช้แต่ละคนจะมีพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ส่วนตัวไว้ใช้งาน ซึ่งพื้นที่นี้เรียกว่า โฮมไดเรคทอรี (home directory) หรือไทเรกทอรีบ้าน ผู้ใช้มีสิทธิทุกประการ ในการอ่าน เขียน บนไทเรกทอรีบ้านของตนอย่างอิสระ ส่วนไดเรกทอรีบ้านของคนอื่นนั้น อยู่ที่ผู้ใช้คนอื่นจะยินยอมหรือไม่ ซึ่งผู้ใช้ทุกคนมีสิทธิใช้ทรัพยากรส่วนรวม โดยผู้บริหารระบบจะเป็นผู้จัดการการใช้สิทธิของผู้ใช้แต่ละคน การที่ผู้ใช้มีความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้จึงต้องมีรหัสผ่านเพื่อใช้เข้าใช้ระบบของตนเอง ยูนิกส์มีวิธีการในการเข้าสู่ระบบที่เรียกว่า การล็อกอิน (log in) โดยจะมีสิ่งที่เรียกว่า login prompt ให้เมื่อจะเข้าสู่ระบบ
Linux
          ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยใช้แนวทางของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์  ใช้โค้ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบ โอเพ่นซอร์ส (open source) ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่าย และเหมาะกับการทำงานเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนั้นยังมีการนำลีนุกซ์มาใช้ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน เพราะระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติที่สามารถนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งมีราคาถูกแต่ประสิทธิภาพสูงได้และในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาลีนุกซ์ให้มีความเหมาะสมในการใช้งานแบบเดสก์ท็อปด้วย สำหรับประเทศไทยมีลีนุกซ์ที่พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดยมีชื่อว่า Linux TLE Thai Language Extention)
Solaris
          Solaris หรือในชื่อเต็ม The solaris Operating Environment เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบยูนิกซ์ ที่พัฒนาโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ รองรับการทำงานด้านเครือข่ายที่ออกแบบสำหรับงานด้านโปรแกรม E-commerce
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embeded OS)
          ระบบปฏิบัติการแบบนี้จะพบเห็นการใช้งานในอุปการณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ซึ่งจะแตกต่างจากระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพราะระบบปฏิบัติการนี้อยู่ภายใน Flash ROM ส่วนระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจะเป็นตัวเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท๊อป
Windows Phone
          สิบปีที่แล้วบริษัทไมโครซอฟท์ออกแบบโปรแกรมระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ขนาดมือถือ (Handheld Personal Computer: HPC) รวมถึงโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน ด้วยเพื่อแข่งจันทางการตลาดกับระบบปฏิบัติการ Plam OS แต่เนื่องจาก HPC มีทรัพยากรจำกัด คือ มีหน่วยความจำน้อย ซีพียูที่ไม่เร็วนัก มีจอขนาดเล็ก และไม่มีเมาส์ บริษัทไมโครซอร์ฟจึงตัดสินใจสร้างระบบปฏิบัติการใหม่สำหรับ HPC โดยเฉพาะชื่อ Windows CE (Windows Consumer Electronics : WinCE) ซึ่งแกนหลักของ WinCE มีขนาดเพียง 1 เมกกะไบต์ ถูกนำไปใช้เป็นส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการหลายตัว และในเวอร์ชั่น 3 ขึ้นไป เปลี่ยนชื่อเป็น Windows PC 2000 และ Pocket PC 2002 หลังจากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น Windows Mobile และเปลี่ยนชื่อเป็น Windows Phone ในที่สุด
Symbian OS
          ระบบปฏิบัติการ Symbian เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) และเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลักโดยเฉพาะสมาร์ทโฟน ระบบ Symbian เกิดขึ้นและพัฒนาการมาจากการที่เป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในการผลิตซอร์ฟแวร์ที่รองรับการสื่อสารแบบไร้สาย เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1998 ซึ่งในขณะนั้นมีพันธมิตรร่วมกัน 4 รายใหญ่ คือ Ericsson, Nokia, Motorola, และ PSION ถัดมาในปี ค.ศ. 1999 Symbian ก็ได้พันธมิตรเพิ่มอีกคือ Panasonic และในปี 2000 ก็ได้มีการจับมือกับ Sony, Sanyo, Siemens
Blackberry
          ระบบปฏิบัติการนี้เป็นระบบปฏิบัติการที่คิดค้าและพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Research in Motion หรือ RIM ความสามารถหลักๆ คือรองรับการใช้งานองค์กร ในการรับส่งอีเมล์ในเชิงธุรกิจที่เน้นความปลอดภัยเป็นอย่างสูง แต่ระบบปฏิบัติการนี้จะสามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องสมาร์ทโพนค่าย Blackberry เท่านั้น คุณสมบัติโดดเด่นคือ Blackberry Messenger หรือ BBM
 i0s
          ระบบปฏิบัติการนี้ใช้สำหรับสมาร์ทโฟนของบริษัทแอปเปิ้ล โดยเริ่มต้นพัฒนาสำหรับใช้ในโทรศัพท์ไอโพน และได้พัฒนาต่อใช้สำหรับ ไอพอดทัช และไอแพด และเป็นที่นิยมอย่างล้นหลาม คุณสมบัติโดดเด่นหลังที่เห็นได้ง่ายก็คือ เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Single OS ที่ไม่ว่าจะเป็นไอโฟน ไอพอดทัช ไอแพด รุ่นไหนๆก็สามารถอัพเกรด ระบบปฏิบัติการใช้ได้เหมือนกันหมด แถมโดดเด่นด้วยแอพพลิเคชั่นเสริมมากมายมีให้เลือกดาวน์โหลดกัน ครบครันทุกความต้องการใช้งาน แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ระบบปฏิบัติการนี้ไม่สามารถที่จะเสริมเติมแต่งอะไรเข้าปเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่แอปเปิ้ลจัดสรรมาให้เท่านั้น
Android
          แอนดรอยด์ เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลีนุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิลและนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อทางกูเกิลได้เปิดฟรีแวร์ จึงทำให้ค่ายผู้ผลิตมือถือต่างๆสนใจนำระบบปฏิบัติการนี้ไปติดตั้งลงในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนเอง เช่น Samsung, LG, HTC, Sony Ericsson, Motorola หรือแม้กระทั่งแบรนด์ไทยๆ อย่าง i-Mobile ด้วยความที่เป็นฟรีแวร์จึงทำให้ราคาค่างวดของโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์มีราคาไม่สูงมากนัก แต่มีการใช้งานที่ครบครัน และผู้ใช้สามารถเสริม เพิ่ม แต่ง ดัดแปลง รูปแบบการใช้งานได้ 




ระบบปฏฺบัติการมีไว้ทำลง ลองชมดูครับ



รวบรวมความรู้ต่างๆ เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี กำนันก็มาดู

อาจารย์สมภพ จุลถาวรทรัพย์

อาจารย์สมภพ  จุลถาวรทรัพย์
7 ถ.หนองขาม2 อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 30120 โทร 0872407227
Powered By Blogger

Translate(เปลี่ยนภาษา ครับท่าน)

ผู้ติดตาม