เรื่องที่ 12 ส่วนรูปแบบ "องค์ประกอบหน้า"และ"ชื่อเว็บบล็อก"
เรื่องที่ 12
ส่วน "รูปแบบ" "องค์ประกอบหน้า" "ชื่อเว็บบล็อก" เรื่องการจัดการชื่อเว็บบล็อก
ส่วน "รูปแบบ" "องค์ประกอบหน้า" "ชื่อเว็บบล็อก" เรื่องการจัดการชื่อเว็บบล็อก
เป็นการเพิ่มเติม หรือปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับ "ชื่อเว็บบล็อก" และ คำอธิบายของเว็บบล็อก ซึ่งอยู่บริเวณด้านบนสุดของเว็บบล็อก ผมขอยกตัวอย่างของบล็อกนี้เลยนะครับ จะได้ดูง่ายๆ ครับ
ดูที่ส่วน "องค์ประกอบ" ที่ชื่อเรื่อง ตามที่ผมวงรี (ไม่ค่อยเรียบร้อย) จากนั้นกดที่เมนู "แก้ไข" นะครับ
เมื่อกดแล้วจะเห็นหน้าต่าง "กำหนดค่าส่วนหัว" ขึ้นมา คือก็หมายถึงว่า หัวเรื่อง หรือชื่อเรื่อง หรือชื่อบล็อก ความหมายเดียวกันครับ ผมจะเริ่มอธิบายทีละส่วนนะครับ
เช่นเดิมนะครับ เข้ามาที่ส่วนการจัดการ "รูปแบบ"
ดูที่ส่วน "องค์ประกอบ" ที่ชื่อเรื่อง ตามที่ผมวงรี (ไม่ค่อยเรียบร้อย) จากนั้นกดที่เมนู "แก้ไข" นะครับ
เมื่อกดแล้วจะเห็นหน้าต่าง "กำหนดค่าส่วนหัว" ขึ้นมา คือก็หมายถึงว่า หัวเรื่อง หรือชื่อเรื่อง หรือชื่อบล็อก ความหมายเดียวกันครับ ผมจะเริ่มอธิบายทีละส่วนนะครับ
- ชื่อบล็อก ก็ความหมายตรงตัว เราสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เท่าที่เราอยากจะเปลี่ยน แต่ผมก็แนะนำว่าอาจจะต้องคงไว้ซึ่งบุคคลิกของบล็อกด้วยนะครับ ที่สำคัญก็คือ ชื่อบล็อก นั้นมีผลต่อการค้นหาของระบบ spider robot หรือ spider network ของ Google ด้วย ถ้าเพื่อนๆ อยากให้เว็บบล็อกของเราติดอันดับในการค้นหาโดยระบบของ Google การตั้งชื่อบล็อกถือว่ามีความสำคัญมากทีเดียวครับ
- คำอธิบายบล็อก ก็อยูที่ว่าเราอยากจะสื่อความหลายอะไร ตัวตนของบล็อกเรา ความรู้สึก หรือการขยายความชื่อของบล็อก ก็ได้ ลองๆ เล่นดู เพราะว่าสามารถแก้ไขได้ตลอดครับ สบายๆ
- รูปภาพ ในส่วนนี้ผมอยากให้เพื่อนๆ ดูที่การจัดวางก่อน ว่าถ้าเราจะใส่รูปภาพที่ส่วนชื่อองบล็อกเรานั้น ตองคำนึงเรื่องการจัดวาง และเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่นว่า ตัวหนังสือเราเป็นสีขาว พื้นสีน้ำเงิน แต่เรากับเลือกรูปภาพสีขาว ก็จะไม่เห็นชื่อบล็อก และคำอธิบาย เหมือนกัน ในส่วนการจัดวางก็เลือกดูนะครับว่า ถ้าเราใส่ภาพแล้วอยากให้ภาพอยู่ "เบื้องหลังชื่อ และคำอธิบาย" หรือว่าภาพไป "แทนที่ชื่อ และคำอธิบาย" ซึ่งก็แนะนำว่าให้ติ๊กที่ช่อง "ลดขนาดให้พอดี" จากนั้นก็สามารถใส่ไฟล์รูปภาพจากทั้งแบบเลือกจากไฟล์ในคอมพิวเตอร์ของเรา (Browse) หรือจาก URL ของภาพนั้นก็ได้ครับ
เรื่องที่ 13 ส่วน "รูปแบบ" "เลือกแม่แบบใหม่"
เรื่องที่ 13เป็นการแนะนำเรื่อง "เลือกแม่แบบใหม่" หรือ "เลือกเทมเพลทใหม่" เมื่อเราสร้างบล็อกไปสักระยะหนึ่ง ผมคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะคิดคล้ายๆ คืออยากให้ดีอยู่เสมอ อยากจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทั้งจาก ประสบการณ์ที่มีมากขึ้น ความรู้สึกของบล็อกที่เปลี่ยนแปลงไป หลายอย่างที่ทำให้เราต้องมีการปรับปรุงบล็อกตลอดเวลา
ทำให้การ "เลือกแม่แบบใหม่" มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย เพราะผมเปลี่ยนบ่อยมากๆ ในช่วงแรกๆ ปัจจุบันผมเริ่มมีแบบมาตรฐานที่ใช้ประจำ ซึ่งเดี๋ยวจะแนะนำเพื่อนๆ ภายในบทความอีกทีนะครับเช่นเคย คือ เริ่มจากเข้าสู่ระบบการจัดการ ไปที่รูปแบบ (เมื่อเข้าสู่รูปแบบครั้งแรก จะไปที่ "องค์ประกอบหน้า" เสมอ)
เมื่อต้องการเปลี่ยนแบบของบล็อก ให้กดที่เมนู "เลือกแม่แบบใหม่" (ตามลูกศรใหญ่) ก็จะไปสู่หน้าการจัดการที่มีแบบของบล็อกให้เลือกมากมาย และถ้าเพื่อนๆ สังเกตให้ดี ทบทวนความจำตอนครั้งแรกที่ได้สมัครสร้างบล็อก จะพบว่าแบบที่ให้เลือกนั้นมีน้อยกว่านี้ ดังนั้นสำหรับคนที่สร้างบล็อกจนเริ่มคุ้นเคย หรือชำนาญแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลกับรูปแบบตอนแรกที่มีให้เลือกน้อย ก็สร้างบล็อกใหม่ไปก่อน แล้วค่อยมาเปลี่ยนทีหลัง-สามารถเปลี่ยนได้ทันทีเมื่อเราสร้างบล็อกเสร็จ
เมื่อกดเมนู "เลือกแม่แบบใหม่" จะเห็นหน้าแรกเป็นตามภาวพข้างบน อยากให้เพื่อนสังเกตที่กรอบซ้อนกรอบเล็กในภาพ จะมีแบบให้เลือก 3 แบบ คือ ซ้าย - กลาง - ขวา (ลองขยายรูปดูนะครับ กดที่ภาพได้เลย) แต่ละแบบก็มี "ชื่อแบบ" และมีให้เลือกถึง 4 แบบย่อย ปัจจุบันผมใช้แบบ "กลาง" ลำดับที่ 1 ชื่อ Denim มากที่สุด เพราะผมสามารถเปลี่ยนรายละเอียดภายฬนได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ ซึ่งผมจะได้แนะนำเพื่อนๆ ถึงแบบนี้ในบทความอื่นต่อไป
สมัยผมสร้างบล็อกใหม่ผมมักใช้ แบบ "ขวา" ทั้ง 4 แบบเลยครับ เพราะใช้งานง่าย บล็อกถูกแบ่งเป็นส่วนๆ สวยงาม มีแบ่งสีชัดเจน ทำให้ดูมีสีสรร ไม่ต้องแต่งมาก แต่ในที่สุด สูงสุดคืนสู่สามัญ บล็อกของผมปัจจุบันจะเรียบง่าย ใช้สีพื้นเป็นหลักเกือบทั้งหมด ไม่ตกแต่งสีมากจนเกินไปครับรื่องที่ 14 ส่วนการจัดการ "การเขียนบทความ" หรือ การเขียนบล็อก
เรื่องที่ 14ส่วนการจัดการ "การเขียนบทความ"
การเขียนบทความก็คงไม่ยากเย็นอะไร ก็พิมพ์ลงไปนะครับ ในพื้นที่ ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้ แล้วก็มีการใส่รูปภาพเป็นส่วนใหญ่ หรือคลิ๊ปวีดีโอ ดังนั้น ก่อนถึงการเขียนบทความ เราลองมารู้จักกับเมนูต่างๆ ในหน้าการจัดการ "การเขียนบทความ" หรือ "สร้างบทความ" กันครับ
คงต้องเริ่มจาก ผมจะแนะนำการเข้าสู่หน้า "สร้าง หรือ เขียนบทความ" 3 วิธี ง่ายๆ นะครับ คือ
1. กดที่เมนู "แผงควบคุม" ที่อยู่ด้านขวามือบนสุด ในหน้าที่เว็บบล็อกที่เราเข้ามาผ่านวิธีการแบบ Log in เข้ามานะครับ
3. ที่หน้าการจัดการ "รูปแบบ" ที่เมนูด้านซ้ายบน ให้กดที่เมนู "การส่งบทความ"ทั้ง 3 วิธี ก็จะมาที่หน้าเว็บการจัดการในการสร้าง หรือเขียนบทความ ดังภาพตัวอย่าง งั้นมาดูเมนูต่างๆ กันครับเพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจในคำอธิบายง่ายๆ ผมจึงกำหนดเป็นตัวเลขกำกับแต่ละเมนูแทน เริ่มจากชื่อเรื่อง คือ การสร้างชื่อบทความ หรือหัวข้อของบทความที่เราเขียนก็ได้นะครับ
หมายเลข 1 คือ การเลือกแบบของตัวอักษร ถ้าเรากดที่ลูกศรลง ก็จะแสดงแบบอักษร การใช้งานแบบตัวอักษรนี้ ก็สามารถทำได้ 2 วิธีคือ ลากเม้าส์ครอบคลุมพื้นที่ของตัวหนังสือที่ต้องการเปลี่ยนแบบตัวอักษร แล้วกดเลือกแบบได้เลย หรือ กดเลือกแบบตัวอักษรเลย ก่อนพิมพ์บทความ ครับหมายเลข 2 คือ การเปลี่ยนขนาดของตัวอักษร ซึ่งมีให้เลือก 5 ขนาด เพื่อนๆ สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมครับ Normal คือขนาดปกติ ผมมักใหญ่ ขนาดใหญ่ (Large) เมื่อเวลาต้องเน้นคำ หรือประโยค เด่นๆ ครับหมายเลข 3 ที่เป็นตัว b หนาๆ เป็นการทำให้ตัวหนังสือที่เราต้องการกลายเป็นตัวหนาหมายเลข 4 ที่เป็นตัว i เอียงๆ จะทำให้ตัวหนังสือที่เราต้องการกลายเป็ษนตัวเอียงหมายเลข 5 เป็นการเลือกสี ให้กับตัวอักษร ถ้าเราใช้อย่างเหมาะสม ก็จะเกิดความสวยงามของบทความ น่าอ่าน หรือใช้เน้นคำ ร่วมกับขนาดตัวอักษรบ้างก็ยังได้ ส่วนตัวผมแล้ว ผมยังใช้สีตัวอักษรมาแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของคำ หรือประโยคนั้นๆ ด้วย เช่น ถ้าบทความนั้นผมเขียนถึง สิ่งที่ถูก กับ สิ่งที่ผิด ผมก็จะใช้สีถึงสิ่งที่ถูกเป็นสีน้ำเงิน ส่วนสิ่งที่ผิด ผมก็จะใช้สีแดง แทนครับหมายเลข 6 เป็นเมนูการเชื่อมโยงลิงก์ ให้กับคำ หรือประโยค เพื่อเชื่อมโยงลิงค์ภายนอกหมายเลข 7 เป็นการจัดลักษณะการวางของตัวหนังสือ ว่า จะให้ ชิดซ้าย, ตรงกลาง, ชิดขวา และ เฉลี่ยเต็มพื้นที่หมายเลข 8 เป็นการจัดลำดับของข้อความ หรือประโยค เป็นข้อๆ เรียงตามเลข หรือ มีจุดนำหน้า และการยกข้อความทั้งย่อหน้า เพื่อนๆ ต้องลองเล่นข้อ 7 และ 8 เอง เวลาเขีนบทความ ก็จะเกิดความชำนาญในการใช้งานครับหมายเลข 9 เป็นการเพิ่มรูปภาพในบทความ โดยสามารถเพิ่มภาพได้ทั้งจากไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเอง (Browse) หรือจาก URL จากนั้นเลือกรูปแบบ การวางรูปซ้าย-กึ่งกลาง-ขวา (ส่วนไม่มีนั้น ผมก็ไม่เคยใช้ครับ) ส่วนด้านข้างบริเวณ "ขนาดรูปภาพ" มีให้เลือก ขนาดเล็ก-ปานกลาง-ขนาดใหญ่ ส่วนช่องที่ให้ติ๊กหน้าช่อง "ใช้เลย์เอาต์นี้ทุกครั้งหรือไม่" ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานนะครับหมายเลข 10 เป็นการเพิ่มวีดีโอในบทความ ใช้งานเหมือนกันคือ กด Browse เพื่อโหลดไฟล์วีดีโอ ตั้งชื่อ และก็บันทึกหมายเลข 11 เป็นการลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก ซึ่งผมยังไม่เคยใช้งานครับหมายเลข 12 เป็นเมนู Type in Hindi ที่ไม่กล้าใช้งานครับ จึงยังไม่เคยใช้เลย กลัวว่าบทความจะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นครับหมายเลข 13 เป็น เมนู "แสดงตัวอย่าง" ให้เพื่อนๆ เมื่อลองพิมพ์บทความลงไปแล้ว ทดลองกดที่เมนู ระบบก็จะแสดงตัวอย่างบทความให้ดูครับ ดังภาพตัวอย่างข้างล่างครับก่อนหน้านี้ ที่ผมอธิบายเมนูต่างๆ ของการเขียนบทความนั้น ถ้าเพื่อนๆ สังเกตจะเห็นว่าเป็นส่วนการจัดการ "การเขียน" โดยดูได้จากเมนูขวามือ ที่ผมวงไว้ว่า A คราวนี้มาถึงเมนู "แก้ไข Html" ที่ผมวงไว้ว่า B เป็นส่วนที่เราสามารถวางโค้ด Html นะครับ ทั้งโค้ด หรือ Embed เช่น จาก youtube.com หรือ daraoke.com (ผมจะเขียนบทความขยายความในส่วนนี้ รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในบทความใหม่ ต่อๆ ไปนะครับ) พื้นที่นี้สามารถคีย์ตัวอักษรปกติได้ และใช้งานตามเมนูเท่าที่มีให้นะครับ แต่ถ้าจะใช้ฟังก์ชั่นเมนูมากกว่านี้ ต้องข้ามไปใช้ในส่วนการจัดการ "การเขียน" แทนครับมีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่จะบอกเพื่อนๆ ว่า ถ้าสังเกตดีๆ เวลาเราพิมพ์บทความไปได้สักระยะหนึ่ง (พักใหญ่เหมือนกันครับ) ตรงพื้นที่ ที่ผมวงไว้ว่า "ว่าง" นั้น จะมีข้อความขึ้นแสดงว่า มีการบันทึกแบบร่าง ดังตัวอย่างภาพข้างล่างนะครับ