การจัดการข้อมูล Blogger ครับผม
เรื่องที่ 8 การจัดการข้อมูล "ขั้นต้น"
ตอนที่ 8
การจัการแผงควบคุม
ต่อไป ขอเสนอการจัดการนำส่วน "การตั้งค่า" ของบล็อกนะครับ มีทั้งสิ้น 6 ตอนนะครับ ตอนแรกก็เริ่มจาก การจัดการข้อมูล "ขั้นต้น" นะครับ โดยผมจะขอแนะนำจากหัวข้อเมนูที่แสดงในแถบ ซึ่งมี 9 หัวข้อให้จัดการ
เริ่มกันเลยนะครับ เริ่มที่หัวข้อแรกเลย
- เครื่องมือเขียนบล็อก : "นำเข้าบล็อก" เป็นการโอนย้ายข้อมูลบล็อกอื่นมาไว้เลย "ส่งออกบล็อก" คือการเอาบทความทั้งหมดไปที่บล็อกอื่น ส่วนแนสุดท้าย "ลบบล็อก" นี้ชัดเจนครับ ถ้ากดลบบล็อก ก็จะมีเมนูถามว่า คุณแน่ใจจะลบหรือไม่ ยืนยันนะ
- หัวข้อ : คือ หัวข้อของบล็อกเรา หรือชื่อบล็อกเรา ครั้งแรกที่เราสร้างบล็อก จะมีให้เราใส่ชื่อบล็อก เนื่องจากตรงส่วนนี้สามารถแก้ไขได้ ที่จะเป็นอีกทาง หรืออีกวิธีที่เราสามารถเปลี่ยนชื่อบล็อกได้ครับ
- คำอธิบาย : ก็คือคำอธิบายที่อยู่ใต้ "ชื่อบทความ" ทั้ง "ชื่อบทความ" และ "คำอธิบายบทความ" นั้นสำคัญมากนะครับ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเรื่องหนึ่งในการสร้างบล็อกให้ติดอันดับต้นๆ ของการค้นหาจากหน้าของ Google ครับ
- เพิ่มบล็อกของคุณในรายการของเราหรือไม่ : เดิมตอบว่า "ใช่" ก็ควรให้เป็นอย่างนั้นนะครับ เพราะถ้าเราตอบไม่ น่าจะมีเหตุผลเดียว คือเอาไว้ดูเอง เสียโอกาสที่จะเผยแพร่ในโลกอินเตอร์เน็ต
- อนุญาตให้เครื่องมือค้นหาพบบล็อกของคุณหรือไม่ : "ใช่" ไว้ก่อนครับ ถ้า "ไม่" ก็แสดงว่าไม่อยากให้ใครรู้จักบล็อกเรา (มั้งครับ)
- แสดงการแก้ไขอย่างรวดเร็วบนบล็อกของคุณหรือไม่ : อันนี้ต้อง "ใช่" สถานเดียวครับ ไม่งั้นเวลาเปลี่ยนแปลง หรืออัพเดทข้อมูลอะไร คุณเหนื่อยแน่ เนื่องจากโดยระบบของ Blogger จะมีสัญลักษณ์ "ประแจไขว่กับไขควง" ซึ่งก็คือเมนูลัดในการจัดการบล็อกนั่นเองครับ
- แสดงลิงก์ส่งบทความทางอีเมล : เหมือนเดิมครับ "ใช่" ไว้ก่อน เพราะมันคือ ลิงก์การส่งบทความทางอีเมล ช่วยให้ผู้เข้าชมของคุณสามารถส่งบทความทางอีเมลจากบล็อกของคุณถึงเพื่อนๆ ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์กับบล็อกของคุณอยู่แล้ว ในการเผยแพร่ครับ
- มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่หรือไม่ : อันนี้ก็ลองดูเนื้อหานะครับ แต่ของผมไม่มีเนื้อหาผู้ใหญ่ (น่าจะแบบมีบทความเกี่ยวกับทางด้านเพศ หรือมีภาพ หรือความรุนแรง เป็นต้น) ดังนั้น "ใช่" ตามระเบียบครับ
เรื่องที่ 9 การจัดการข้อมูล "การเผยแพร่" และ "สิทธิ์"
เรื่องที่ 9การตั้งค่า "การเผยแพร่" และ "สิทธิ์"
"การเผยแพร" เป็นกรกำหนดให้เราบริหารบล็อกได้ง่ายขึ้น บล็อกไหนอยากให้ทุกคนดู บล็อกไหนอยากแค่ให้เพื่ออนบางคนดู แบบว่าความลับกันเอง ไม่อยากให้ใครมาเห็น บล็อกไหนไม่ให้ใครเข้ามาดูเลย ข้าดูของข้าคนเดียว หรือจะประยุกต์ใช้ เช่น ทยอยทำบล็อกจนเสร็จเรียบร้อย ถึงจะโชว์ให้คนอื่นดูก็ยังได้
"สิทธิ์" เป็นส่วนจะอนุญาตให้ใครเข้าอ่าน หรือไม่ให้อ่าน ทีนี้ลองดูส่วนล่าง คือ ส่วน "ผู้อ่านบล็อก" ก่อนนะครับ ในหัวข้อ "ใครสามารถดูบล็อกนี้ได้" จะติ๊กหน้าวงกลมตรง "O ใครก็ได้" เสมอ หมายถึง เผยแพร่ให้สาธารณะได้ดูกันทั่วโลกครับ
ถ้าคลิกตรง "เฉพาะบุคคลที่ฉันเลือก" มันก็จะขึ้นพื้นที่สีขาว (ตามภาพข้างบน) เหนือช่องขาว เขียนว่า "เชิญบุคคลอื่นให้อ่านบล็อกของคุณ" ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า บล็อกคุณจะอ่านได้เฉพาะคนที่คุณเชิญเท่านั้น คนปกติจะเข้าไม่ได้เลย ด้วยการใส่อีเมล์ไปในช่องขาว ระบบของ Blogger ก็จะส่งเทียบเชิญให้มาอ่านบล็อก เท่าที่เราส่งอีเมล์ไปครับ เราสามารถใส่อีเมล์ได้ถึง 100 อีเมล์ ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย ต้องกด "เชิญ" ด้วยนะครับ
ต่อไปมาถึงการคลิกที่วงกลมหน้า "เฉพาะผู้เขียนบล็อก" อันนี้หนักกว่านั้น อีก คือ ตัวเราเอง เจ้าของบล็อก ไม่ให้ใครดูแลเลย นอกจาตัวเจ้าของเอง
เมื่อคลิกที่ "เฉพาะผู้เขียนบล็อก" จะมีเมนูขึ้นมา เป็นเมนูสีส้มเขียนว่า "อนุญาเฉพาะคนเขียน" เมื่อกดเสร็จ บล็อกของคุณก็จะไม่มีใครเข้ามาอ่านได้ทันที เมื่อทุกอย่าง จบเสร็จสิ้นแล้ว ก็อย่าลืมเมนูสีส้ม "บันทึกการตั้งค่า" ด้วยนะครับ
ต่อไป มาดูส่วนแรกกันนะครับ คือส่วน "ผู้เขียนบล็อก" คือหมายถึง ใครก็ได้จะสร้างบล็อกรวมกัน เท่าที่เราจะอนุญาต ด้วยการใส่อีเมล์ลงไป ได้ถึง 100 คน และเมื่อกดปุ่มเมนูสีฟ้า "เพิ่มผู้เขียน"
จะมีพื้นที่สีขาวแสดงออกมา เหนือพื้นที่ขาว มีประโยค "เชิญผู้อื่นให้เขียนข้อมูลในบล็อกของคุณ" โดยการใส่อีเมล์ของคนที่คุณต้องการให้ดัดแปลง หรือเพิ่มบทความลงไปในพื้นที่สีขาวครับ เรื่องที่ 10 การจัดการข้อมูล "การจัดรูปแบบ" และ "ข้อคิดเห็น"
เรื่องที่ 10การจัดการข้อมูล "การจัดรูปแบบ"
- แสดง : คือการแสดงจำนวนบทความในหน้าแรกของบล็อก โดยเลือกในช่องแรก ส่วนช่องหลังสามารถเลือกว่าจะแสดงว่าเป็น กี่บทความ หรือโชว์ว่าแสดงกี่วัน เช่นแสดงบทควมภายใน 30 วัน เป็นต้น ผมจะมช้เฉพะส่วน "บทความ" เท่านั้น เพราะไม่ร้ว่า แต่ละบล็อกนั้นผมจะอัพเดทบทความได้ทุกวันไหม เพราะเขียนเยอะตั้ง 40 บล็อก ดังนั้นแสดงเป็นจำนวนบทความไว้ดีที่สุดครับ
- รูปแบบส่วนหัวของวันที่ : เป็นเหมือนฟอร์ม หรือรูปแบบของวันที่ ที่จะแสดงบนส่นหัวของบทความ
- รูปแบบวันที่ของดัชนีคลังบทความ : คือรูปแบบของวันที่ ที่เราเซฟเข้าคลังข้อมูล บล็อกของผมนิยมใช้เป็นแสดง "เดือน 20xx" เพราะผมเลือกเก็บเข้าคลังข้อมูลบทความเป็นรายเดือนครับ
- โซนเวลา : เลือกโซนเวลาของประเทศไทย เพื่อให้บล็อกเราเมื่อส่งบทความขึ้น จะได้บันทึกเวลาได้ถูกต้อง และต้องเลือกเป็น "(GMT+07:00) กรุงเทพ"
- ภาษา : คือภาษาที่แสดงในบล็อก ดังนั้นเลือก "ไทย" ครับ
- แปลงการขึ้นบรรทัดใหม่ : เป็นการแสดงโค้ดของการขึ้นบรรทัดใหม่ เวลาเขียนบทความลงในบล็อกครับ
- แม่แบบบทความ :
การจัดการข้อมูล "ข้อคิดเห็น"
ในส่วน "ข้อคิดเห็น" หรือในส่วน "แสดงความคิดเห็น" บางเว็บไซต์ก็เรียก "Comment" ก็คือเป็นส่วนที่เวลาเราได้ไปอ่านเจอบทความ แล้วเราต้องการแสดงความคิดเห็น จากนั้นก็พิมพ์แสดงความคิดเห็น หรือได้อ่านแสดงความคิดเห็นของท่านอื่นๆ เป็นต้น
- ข้อคิดเห็น : เป็นระบบที่ต้องการให้ผู้สร้างบล็อกนั้นเลือกว่า เวลามีคนแสดงความคิดเห็น แล้วจะให้ "แสดง" หรือ "ซ่อน" ซึ่งก็ควรจะเลือก "ซ่อน" นะครับ เพราะเราควรจะให้เกียรติผู้อ่าน ถ้านึกถึงตัวเรา เวลาไปแสดงความคิดเห็นทีไหน พอพิมพ์เสร็จ ก็ไม่แสดงออกมา คงจะหงุดหงิดแย่เลย
- ใครสามารถแสดงความคิดเห็น : เป็นส่วนจัดการ ผู้แสดงความคิดเห็น ว่ามาจากไหน ซึ่งมี 4 ข้อย่อย คือ ทุกคน , ผู้ใช้ที่จดทะเบียน , ผู้ใช้ที่มีบัญชี Google และ เฉพาะสมาชิกของบล็อกนี้
- การจัดวางฟอร์มความคิดเห็น : เป็นการโชว์ส่วนการแสดงความคิดเห็น เมื่อผู้อ่านต้องการจะแสดงความคิดเห็นดังนี้
- เต็มหน้า จะซ่อนหน้าต่างการแสดงความคิดเห็นไว้ เมื่อกดลิงก์ที่คำว่า "ความคิดเห็น" ที่วางอยู่ด้านล่างสุดของบทความ ซึ่งจะโชว์หน้าต่างมาเต็มหนาจอ
- หน้าต่างป๊อปอัป วิธีแสดง "ความคิดเห็น" ใช้งานเหมือนกับแบบ เต็มหน้า เพียงแต่หน้าต่างที่โชว์ขึ้นมาจะเป็นหน้าต่างป๊อปอัป ขนาดเล็กไม่ใหญ่เกินไป
- วางไว้ใต้บทความ จะมีหน้าต่างการแสดงบทความที่ล่างสุดของบทความเลย ดังแสดงในภาพข้างล่างนะครับ
- ความคิดเห็นเริ่มต้นสำหรับบทความ :
- ลิงก์ย้อนกลับ : เป็นการแสดงถึง ลิงก์ที่สามารถย้อนกลับ เดินหน้าได้ ควรเลือก "แสดง" นะครับ เพราะว่า จะทำให้บล็อกที่สร้างมามีฟังก์ชั่นที่น่าใช้งาน
- ค่าเริ่มต้นของลิงก์ย้อนกลับสำหรับบทความ : สื่อความหมายตรงตัวนะครับ ดังนั้นควรเลือก "บทความใหม่มีลิงก์ย้อนกลับ"
- รูปแบบเวลาในส่วนความคิดเห็น : เลือกรูปแบบเวลาตามที่ชอบใจได้เลยครับ
- ข้อความของฟอร์มความคิดเห็น : คือส่วนที่ให้เราเติมข้อความ หรือประโยค แล้วจะแสดงเหนือหน้าต่างแสดงความคิดเห็น สามารถดูตัวอย่างตรงนี้ บนภาพด้านบนที่ผมวางไว้เหนือคำอธิบายนี้นะครับ
- การจัดการความคิดเห็น : เป็นส่วนที่ผู้สร้างบล็อกอยากจะตรวจสอบ ความคิดเห็นของผู้มาแสดงความคิดเห็น หรือไม่ ดังนั้นจึงมีให้เราเลือก 3 หัวข้อย่อยคือ
- 1. ทุกครั้ง หมายถึงเวลามีการแสดงความคิดเห็น ก็จะต้องส่งมาให้เจ้าของบล็อกตรวจสอบก่อน โดยส่งมาทางอีเมล์ ที่ได้กรอกไว้ตรงที่ช่องเติมข้อความว่า "ที่อยู่อีเมล"
- 2. เฉพาะบทความที่เก่ากว่า (จำนวน) วัน เป็นการส่งความคิดเห็นสำหรับบทความที่เคยเขียนไปแล้วกี่วัน ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะกรอกตัวเลขไปกี่วันครับ เช่น เคยเขียนบทความไว้แล้วก่อนหน้า 1 สัปดาห์ แล้วเราลงไว้ 4 วัน เมื่อมีคนมาแสดงความคิดเห็นกับบทความที่ลงมาแล้ว 7 วัน ก็จะส่งมาให้เราได้ตรวจสอบก่อนครับ
- 3. ไม่ ก็คือไม่ต้องตรวจสอบความคิดเห็นเลย เมื่อมีคนแสดงความมคิดเห็น ก็โชว์เดี๋ยวนั้นเลยครับ
- แสดงการตรวจสอบคำสำหรับความคิดเห็นหรือไม่ : เป็นส่วนที่ควรตอบว่า "ใช่" เลยนะครับ เพราะว่าจะเป็นการป้องกันพวก robot ที่จะเข้ามาแสดงความคิดเห็นมั่วซั่ว มาขายยาไวอากร้าบ้าง มาขายสินค้า MLM บ้าง เป็นต้นครับ
- แสดงรูปภาพโปรไฟล์บนความคิดเห็นหรือไม่ : ความหมายตรงตัวครับ ติ๊กหน้าช่อง "ใช่" ไว้ก่อนครับ
- อีเมลสำหรับแจ้งเตือนเมื่อมีความคิดเห็นใหม่ : ผมแนะนำว่าควรใส่อีเมล์ในช่องว่างนะครับ และเมื่อมีคนมาแสดงความคิดเห็น ระบบของ Blogger จะส่ง "ความคิดเห็น" มาให้เราได้ทราบ ได้รับรู้กันครับ แต่ว่าไม่ได้ตรวจสอบอะไรนะครับ คือเหมือนแจ้งให้เราดูเฉยๆ ครับ
เรื่องที่ 11 การจัดการข้อมูล "เก็บเข้าคลังบทความ" "ฟีดของไซต์" "อีเมล" และ "OpenID"
ตอนที่ 11การจัดการข้อมูล "เก็บเข้าคลังบทความ"
- ความถี่ของการเก็บเข้าคลังบทความ : เป็นการบันทึกจำนวนของบทความเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือนครับ ซึ่งเดี๋ยวผมจะยกตัวอย่างการใช้งานในส่วนนี้ ในส่วนการแก้ไขในหน้า "รูปแบบ" นะครับ
- เปิดใช้หน้าบทความหรือไม่ : ในส่วนนี้ให้ใส่ "ใช่" ไปเลยนะครับ เพราะจะสัมพันธ์กับการแสดงบทความ เมื่อมีคนคลิ๊กเพื่อดูบทความเป็นตามความถี่ ที่เรากำหนดไว้ เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน
การจัดการข้อมูล "อีเมลและมือถือ"เทมเพลตมือถือ
- เทมเพลตมือถือ นั้นเป็นการที่จะให้เข้าบล็อกของเราได้ในมือถือ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ในการทำให้บล็อกของเราน่าสนใจมากขึ้น อีกด้วย
- ที่อยู่ BlogSend : คือเมื่อเวลาเราพิมพ์บทความ แล้วสั่งเผยแพร่ หรือเรียกว่า "ส่งบทความ" ก็ให้ระบบแจ้งการเผยแพร่ข้อมูลมาให้เจ้าของบล็อกทางอีเมล์ ที่สำคัญสามารถส่งบทความที่เผยแพร่ให้ได้ถึง 10 อีเมล์ ซึ่งผมจะใส่อีเมล์ของตัวเอง ทุกบล็อกที่สร้างเลยครับ
- ที่อยู่ Mail-to-Blogger : เป็นการให้เราใส่อีเมล์ที่เป็น @blogger.com สำหรับคนที่ไม่มีอีเมล์ของ gmail ระบบจึงสร้างอีเมล์ขึ้นมาใหม่ให้อัตโนมัติ .
การจัดการข้อมูล "OpenID"
มาถึงการจัดการส่วนสุดท้าย คือ "OpenID" ก็เป็นเพราะว่า ในต่างประเทศเริ่มนิยมที่จะทำให้ประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ตนั้นสามารถใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น จึงมีแนวคิดรวมตัวกันแล้วให้สมาชิกของแต่ละเว็บไซต์ สามารถใช้ user name และ password เดียวร่วมกันได้ ผมจึงเข้าใจว่า ในส่วนนี้คงเป็นข้อตกลงร่วมกันในระดับบริษัทแม่ ที่ต้องการเชื่อมโยงการใช้งานร่วมกัน จึงมีส่วนการจัดการนี้ขึ้นมาครับลองมาดูรายละเอียดกันสักนิดหน่อย (ซึ่งผมก็ไม่ค่อยทราบรายละเอียดมฝากเท่าไหร่นะครับ) กดที่ลิงก์ "ความคิดเห็น" มันก็จะไปที่หน้าการจัดการ "ข้อคิดเห็น" ซึ่งก็จะไปให้ความสำคัญในเรื่องการกำหนด "ผู้แสดงความคิดเห็น" ที่ผมแนะนำว่า ควรคลิกหน้าวงกลมที่ "ทุกคน" ถ้ากดลิงก์ "เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ OpenID" ก็จะไปที่เว็บไซต์ของ OpenID ที่มี URL ดังนี้ครับ http://openid.net/what/เรื่องที่ 11 การจัดการข้อมูล "เก็บเข้าคลังบทความ" "ฟีดของไซต์" "อีเมล" และ "OpenID"
ตอนที่ 11การจัดการข้อมูล "เก็บเข้าคลังบทความ"
- ความถี่ของการเก็บเข้าคลังบทความ : เป็นการบันทึกจำนวนของบทความเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือนครับ ซึ่งเดี๋ยวผมจะยกตัวอย่างการใช้งานในส่วนนี้ ในส่วนการแก้ไขในหน้า "รูปแบบ" นะครับ
- เปิดใช้หน้าบทความหรือไม่ : ในส่วนนี้ให้ใส่ "ใช่" ไปเลยนะครับ เพราะจะสัมพันธ์กับการแสดงบทความ เมื่อมีคนคลิ๊กเพื่อดูบทความเป็นตามความถี่ ที่เรากำหนดไว้ เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน
การจัดการข้อมูล "อีเมลและมือถือ"เทมเพลตมือถือ
- เทมเพลตมือถือ นั้นเป็นการที่จะให้เข้าบล็อกของเราได้ในมือถือ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ในการทำให้บล็อกของเราน่าสนใจมากขึ้น อีกด้วย
- ที่อยู่ BlogSend : คือเมื่อเวลาเราพิมพ์บทความ แล้วสั่งเผยแพร่ หรือเรียกว่า "ส่งบทความ" ก็ให้ระบบแจ้งการเผยแพร่ข้อมูลมาให้เจ้าของบล็อกทางอีเมล์ ที่สำคัญสามารถส่งบทความที่เผยแพร่ให้ได้ถึง 10 อีเมล์ ซึ่งผมจะใส่อีเมล์ของตัวเอง ทุกบล็อกที่สร้างเลยครับ
- ที่อยู่ Mail-to-Blogger : เป็นการให้เราใส่อีเมล์ที่เป็น @blogger.com สำหรับคนที่ไม่มีอีเมล์ของ gmail ระบบจึงสร้างอีเมล์ขึ้นมาใหม่ให้อัตโนมัติ .
การจัดการข้อมูล "OpenID"
มาถึงการจัดการส่วนสุดท้าย คือ "OpenID" ก็เป็นเพราะว่า ในต่างประเทศเริ่มนิยมที่จะทำให้ประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ตนั้นสามารถใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น จึงมีแนวคิดรวมตัวกันแล้วให้สมาชิกของแต่ละเว็บไซต์ สามารถใช้ user name และ password เดียวร่วมกันได้ ผมจึงเข้าใจว่า ในส่วนนี้คงเป็นข้อตกลงร่วมกันในระดับบริษัทแม่ ที่ต้องการเชื่อมโยงการใช้งานร่วมกัน จึงมีส่วนการจัดการนี้ขึ้นมาครับลองมาดูรายละเอียดกันสักนิดหน่อย (ซึ่งผมก็ไม่ค่อยทราบรายละเอียดมฝากเท่าไหร่นะครับ) กดที่ลิงก์ "ความคิดเห็น" มันก็จะไปที่หน้าการจัดการ "ข้อคิดเห็น" ซึ่งก็จะไปให้ความสำคัญในเรื่องการกำหนด "ผู้แสดงความคิดเห็น" ที่ผมแนะนำว่า ควรคลิกหน้าวงกลมที่ "ทุกคน" ถ้ากดลิงก์ "เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ OpenID" ก็จะไปที่เว็บไซต์ของ OpenID ที่มี URL ดังนี้ครับ http://openid.net/what/